จังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน



















จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
บทความนี้เกี่ยวกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับความหมายอื่น ดูที่ สุราษฎร์ธานี (แก้ความกำกวม)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตราประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตราประจำจังหวัด
เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย สุราษฎร์ธานี
อักษรโรมัน Surat Thani
ผู้ว่าราชการ วิชวุทย์ จินโต
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2560)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 12,891.469 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 6)
ประชากร 1,057,581 คน (พ.ศ. 2560)
(อันดับที่ 20)
ความหนาแน่น 82.03 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 59)
ISO 3166-2 TH-84
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ต้นไม้ เคี่ยม
ดอกไม้ บัวผุด
สัตว์น้ำ ปลาตะพัดเขียว
ศาลากลางจังหวัด
ที่ตั้ง ภายในศูนย์ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถนนดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ (+66) 0 7727 2926
โทรสาร (+66) 0 7728 2175
เว็บไซต์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แผนที่
 
ประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานีเน้นสีแดง
เกี่ยวกับภาพนี้

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า สุราษฎร์ฯ ใช้อักษรย่อ สฎ เป็นจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และมีประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีหลักฐานทั้งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเก่าแก่[2] และยังมีแหล่งท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และระนอง
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทย ทั้งบริเวณที่เป็นทะเลและเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากถึง 108 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ[3] เกาะขนาดใหญ่เป็นที่รู้จักเช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง เนื่องจากทำเลที่ตั้งจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเกิดบริเวณทะเลอันดามันบ้างเป็นครั้งคราวเนื่องจากจะมีแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช [4] แถบบริเวณจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแนวช่วยลดอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ในทางกลับกันพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลจีนใต้และอ่าวไทย ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมกราคม
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรเป็นหลัก โดยใช้พิ้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ ประมง อุตสาหกรรม รวมทั้งมีการทำเหมืองแร่ด้วย
ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถใช้ได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ เครื่องบิน รถโดยสารประจำทาง เรือ และรถยนต์ส่วนบุคคล
สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุศรีสุราษฎร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรศรีวิชัย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติทั้งอุทยานแห่งชาติทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล น้ำตก เกาะ แม่น้ำ เขื่อน วัด และพระอารามหลวง เป็นต้นและยังเป็นแหล่งสืบสานประเพณีที่สำคัญของชาวใต้ คือประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไข่เค็มไชยา หอยนางรม และเงาะโรงเรียน ดังที่ปรากฏในคำขวัญของจังหวัด

เนื้อหา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

  • ตราประจำจังหวัด: พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีศิลปะแบบศรีวิชัย ตั้งอยู่ ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นเคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii)
  • สัตว์นํ้าประจำจังหวัด: ปลาตะพัดเขียว (Scleropages formosus)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ
    • คำขวัญประจำจังหวัดในอดีต: สะตอวัดประดู่ พลูคลองยัน ทุเรียนหวานมันคลองพระแสง ย่านดินแดงของป่า เคียนซาบ่อถ่านหิน พุนพินมีท่าข้ามแม่น้ำตาปี ไม้แก้วดีเขาประสงค์ กระแดะดงลางสาด สิ่งประหลาดอำเภอพนม เงาะอุดมบ้านส้อง จากและคลองในบาง ท่าฉางต้นตาล บ้านนาสารแร่ ท่าอุแทวัดเก่า อ่าวบ้านดอนปลา ไชยาข้าว มะพร้าวเกาะสมุย (แต่งโดยพระเทพรัตนกวี (ก.ธรรมวร) อดีตเจ้าคณะจังหวัด)
  • ธงประจำจังหวัด: คือ มี 2 แถบสี ได้ แถบบนสีแสด แถบล่างสีเหลือง และมีตราประจำจังหวัดกลางผืนธง
  • ตัวอักษรย่อของชื่อจังหวัด: สฎ
  • ลักษณะรูปร่างของจังหวัด: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับ "ผีเสื้อที่กำลังกางปีกโบยบินอยู่"
  • เพลงประจำจังหวัด:
สุราษฎร์ธานี รุ่งเรืองสมเมืองคนดี อีกธารตาปี นามพระธีรราชประทาน
เป็นแดนอุดมไม้ปลา มะพร้าวมาเนิ่นนาน เหล่าราษฎร์สุขศานต์ มุ่งมั่นขยันทำกิน
มิ่งขวัญชาวเมือง มีองค์พระธาตุพุทธศาสน์ประเทือง
ถิ่นชนกตัญญูยิ่ง เมตตาอยู่อาจิณ ร่วมรักแผ่นดิน คนดี นี้ไชโย

ประวัติศาสตร์[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของเมืองศรีวิชัย มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่อำเภอไชยาเจริญขึ้นจนเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีต ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่ออาณาจักรตามพรลิงก์หรือเมืองนครศรีธรรมราชมีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น เมืองไชยาก็เป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ชื่อว่า "เมืองบันไทยสมอ"[5]
นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองท่าทอง โดยเชื่อว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้นอพยพย้ายเมืองมาจากเมืองเวียงสระ เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด[6] และเมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยกเมืองไชยา และเมืองท่าทอง เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่อ่าวบ้านดอน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายังอ่าวบ้านดอน พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และพระราชทานชื่อว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์"[5] โดยแต่งตั้งให้พระยากาญจนดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เมืองเมืองกาญจนดิษฐ์, เมืองคีรีรัฐนิคมและเมืองไชยารวมตัวเป็นจังหวัดไชยา ขึ้นตรงต่อมณฑลชุมพร เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการแยกเมืองกาญจนดิษฐ์เป็นอำเภอกาญจนดิษฐ์และอำเภอบ้านดอน กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการย้ายอำเภอเมืองมาที่อำเภอบ้านดอนและโอนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอไชยา และให้เชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอพุมเรียง" ทว่าประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" ทั้งตัวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดปรานชื่อบ้านดอน จึงพระราชทานนามอำเภอบ้านดอนว่า "สุราษฎร์ธานี" และยังคงชื่ออำเภอพุมเรียงว่าอำเภอไชยาเช่นเดิม รวมถึงเปลี่ยนชื่อจังหวัดเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี[7] และพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำทัปตีไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมืองสุรัต[5]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ และอันดับ 1 ของภาคใต้[8] โดยมีจังหวัดที่มีอาณาเขตติดกัน ดังนี้
โดยทะเลฝั่งอ่าวไทยนั้นมีชายฝั่งยาวประมาณ 156 กิโลเมตร โดยมีเกาะที่อยู่ภายใต้เขตการปกครองของจังหวัด ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่างทอง ซึ่งมีเกาะน้อยใหญ่อีกมากมาย จึงได้ชื่อว่าเมืองร้อยเกาะ เช่น เกาะนางยวน เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย ได้แก่ ภูมิประเทศแบบที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูง รวมทั้งภูมิประเทศแบบภูเขาซึ่งกินพื้นที่ของจังหวัดถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด [9] โดยมีทิวเขาภูเก็ตทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ของจังหวัด และมีลุ่มน้ำที่สำคัญ คือ ลุ่มน้ำตาปี ไชยา ท่าทอง เป็นต้น ด้านตะวันออกเป็นฝั่งทะเลอ่าวไทย และมีเกาะน้อยใหญ่ที่มีประชากรอาศัย ส่วนด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นภูเขาสูง มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำคีรีรัฐหรือแม่นํ้าพุมดวง เนื่องจากทำเลที่ตั้งรวมถึงภูมิประเทศ จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ดังนั้น จึงทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนยาวนานมาก โดยกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม โดยจังหวัดสุราษฏร์ธานีมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 21.16 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34.51 องศาเซลเซียส [10] และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 129.59 มิลลิเมตร [11]

การปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 19 อำเภอ 131 ตำบล 1,074 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้
  1. อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
  2. อำเภอกาญจนดิษฐ์
  3. อำเภอดอนสัก
  4. อำเภอเกาะสมุย
  5. อำเภอเกาะพะงัน
  6. อำเภอไชยา
  7. อำเภอท่าชนะ
  8. อำเภอคีรีรัฐนิคม
  9. อำเภอบ้านตาขุน
  10. อำเภอพนม
  1. อำเภอท่าฉาง
  2. อำเภอบ้านนาสาร
  3. อำเภอบ้านนาเดิม
  4. อำเภอเคียนซา
  5. อำเภอเวียงสระ
  6. อำเภอพระแสง
  7. อำเภอพุนพิน
  8. อำเภอชัยบุรี
  9. อำเภอวิภาวดี
แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

จังหวัดสุราษฎร์ธานีแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 เทศบาลนคร 3 เทศบาลเมือง 35 เทศบาลตำบล และ 101 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
อำเภอกาญจนดิษฐ์
  • เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์
  • เทศบาลตำบลท่าทองใหม่
  • เทศบาลตำบลช้างซ้าย
  • เทศบาลตำบลช้างขวา
  • เทศบาลตำบลกรูด
อำเภอดอนสัก
อำเภอเกาะสมุย
อำเภอเกาะพะงัน
  • เทศบาลตำบลเกาะพะงัน
  • เทศบาลตำบลบ้านใต้
  • เทศบาลตำบลเพชรพะงัน
  • เทศบาลตำบลเกาะเต่า
อำเภอไชยา
อำเภอท่าชนะ
  • เทศบาลตำบลท่าชนะ
อำเภอคีรีรัฐนิคม
  • เทศบาลตำบลท่าขนอน
อำเภอบ้านตาขุน
  • เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยวหลาน
  • เทศบาลตำบลบ้านตาขุน
อำเภอพนม
อำเภอท่าฉาง
  • เทศบาลตำบลท่าฉาง
อำเภอบ้านนาสาร
  • เทศบาลเมืองนาสาร
  • เทศบาลตำบลพรุพี
  • เทศบาลตำบลคลองปราบ
  • เทศบาลตำบลท่าชี
  • เทศบาลตำบลควนศรี
อำเภอบ้านนาเดิม
  • เทศบาลตำบลบ้านนา
อำเภอเคียนซา
  • เทศบาลตำบลเคียนซา
  • เทศบาลตำบลบ้านเสด็จ
อำเภอเวียงสระ
  • เทศบาลตำบลเวียงสระ
  • เทศบาลตำบลบ้านส้อง
  • เทศบาลตำบลเขานิพันธ์
  • เทศบาลตำบลทุ่งหลวง
  • เทศบาลตำบลเมืองเวียง
อำเภอพระแสง
  • เทศบาลตำบลบางสวรรค์
  • เทศบาลตำบลย่านดินแดง
อำเภอพุนพิน

ประชากร[แก้]

อันดับ
(ปีล่าสุด)
อำเภอ พ.ศ. 2557[12] พ.ศ. 2556[13] พ.ศ. 2555[14] พ.ศ. 2554[15] พ.ศ. 2553[16] พ.ศ. 2552[17] พ.ศ. 2551[18]
1เมืองสุราษฎร์ธานี 175,140 173,462 172,202 169,902 170,336 171,712 171,387
2กาญจนดิษฐ์ 103,942 103,240 102,179 101,071 100,393 99,722 98,432
3พุนพิน 93,006 92,496 92,000 91,396 91,048 90,441 89,908
4บ้านนาสาร 70,712 70,506 69,993 69,672 69,495 69,326 69,186
5พระแสง 68,349 67,817 67,196 66,394 65,436 64,500 63,774
6เกาะสมุย 63,592 62,506 62,357 61,318 54,674 53,990 52,492
7เวียงสระ 61,206 60,874 60,608 60,124 59,810 59,439 58,675
8ท่าชนะ 54,243 53,781 53,244 52,948 52,736 52,406 51,664
9ไชยา 50,539 50,314 49,903 49,380 49,198 48,802 48,301
10เคียนซา 48,080 47,779 47,197 46,643 46,120 45,491 44,828
11คีรีรัฐนิคม 43,745 43,609 43,208 42,768 42,461 41,908 41,330
12พนม 38,232 37,950 37,460 36,881 36,338 35,867 35,312
13ดอนสัก 37,168 36,939 36,594 36,256 36,125 35,980 36,135
14ท่าฉาง 33,395 33,111 32,902 32,765 32,609 32,376 31,989
15ชัยบุรี 27,390 26,775 26,409 26,048 25,783 25,557 25,145
16บ้านนาเดิม 23,900 23,795 23,556 23,192 22,930 22,762 22,493
17เกาะพะงัน 16,433 15,838 15,546 15,081 15,142 14,700 13,952
18บ้านตาขุน 15,933 15,895 15,745 15,419 15,213 15,025 14,872
19วิภาวดี 15,225 15,125 14,989 14,806 14,536 14,217 13,711
รวม1,040,2301,031,8121,023,2881,012,0641,000,383994,221983,486
      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี[แก้]

ลำดับ ชื่อ เข้ารับตำแหน่ง สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
1 พระยาวรฤทธิ์ฤๅไชย (คออยู่ตี๋ ณ ระนอง)   พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พ.ศ. 2458
2 พระยาชุมพรบุรีศรีสมุทเขต พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2459
3 พระยาพิศาลสารเกษตร์ พ.ศ. 2459 พ.ศ. 2461
4 พระยาวิชิตภักดีศรีสุราษฎร์ธานินทร์ พ.ศ. 2461 พ.ศ. 2463
5 พระยาศรีมหาเกษตร    พ.ศ. 2463 พ.ศ. 2469
6 พระยาสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2477
7 พระบริบูรณ์วุฒิราษฎร์ พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2481
8 หลวงสฤษฏสาราลักษณ์   พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2484
9 หลวงอรรถกัลยาณวินิจ   พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2485
10 นายชลอ จารุจินดา พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2486
11 หลวงเกษมประศาสน์    พ.ศ. 2486 พ.ศ. 2487
12 ขุนสำราษราษฎร์บริรักษ์ พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2487
13 นายแม้น อรจันทร์   พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2487
14 ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์    พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2492
15 นายเลื่อน ไขแสง พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2496
16 ขุนอักษรสารสิทธิ์    พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2497
17 นายจันทร์ สมบูรณ์กุล พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2501
18 นายฉลอง รมิตานนท์ พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2503
19 นายประพันธ์ ณ พัทลุง   พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2509
20 นายพร บุญยะประสพ   พ.ศ. 2509 พ.ศ. 2511
21 นายคล้าย จิตพิทักษ์ พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2515
22 นายอรุณ นาถะเดชะ    พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517
23 นายอนันต์ สงวนนาม      พ.ศ. 2517 พ.ศ. 2519
24 นายชลิต พิมลศิริ   พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2521
25 นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2522
26 นายสนอง รอดโพธิ์ทอง พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2524
27 นายไสว ศิริมงคล พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2526
28 นายนิพนธ์ บุญญภัทโร พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2530
29 นายวิโรจน์ ราชรักษ์ พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2532
30 นายดำริ วัฒนสิงหะ พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2533
31 นายอนุ สงวนนาม    พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2535
32 นายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิทธิ์ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2537
33 นายประยูร พรหมพันธุ์    พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2539
34 นายปรีชา รักษ์คิด    พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540
35 นายนิเวศน์ สมสกุล พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541
36 นายภุชงค์ รุ่งโรจน์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2543
37 นายชาญชัย สุนทรมัฏฐ์   พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544
38 นายยงยุทธ ตะโกพร พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2545
39 ม.ล.ประทีป จรูญโรจน์ พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2546
40 นายธีระ โรจนพรพันธุ์ พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547
41 นายวิจิตร วิชัยสาร พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2549
42 ดร.นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550
43 นายวินัย บัวประดิษฐ์ พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2551
44 นายประชา เตรัตน์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552
45 นายดำริห์ บุญจริง พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553
46 นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2555
47 นายเชิดศักดิ์ ชูศรี พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2555
48 นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ   พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2558
49 นายวงศศิริ พรหมชนะ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559
50 นายอวยชัย อินทร์นาค พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
51 นายวิชวุทย์ จินโต พ.ศ. 2560 ปัจจุบัน

เศรษฐกิจ[แก้]

เกษตรกรรม[แก้]

การประกอบอาชีพประมงที่เกาะเต่า
ประชากรในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 162,329 บาท ต่อปี โดยส่วนมากจะประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ โดยใช้ที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกประมาณ 45% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เงาะ ทุเรียน และกาแฟ[19] นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมง โดยปศุสัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ แพะ โดยปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ โค สุกร ไก่ กระบือ และเป็ดตามลำดับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รายงานแสดงจำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร แยกตามอาชีพทางการเกษตร

อุตสาหกรรม[แก้]

อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมปลาป่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730 โรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีมากที่สุด[19] นอกจากนี้ ยังมีการให้สัมปทานเหมืองแร่ โดยแร่ที่สำคัญในจังหวัด ได้แก่ ยิปซัม โดโลไมต์ แอนไฮโครต์ หินปูน ดินขาว และบอลเคลย์[19] สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ได้รวมอยู่ในบริเวณศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่จะตั้งอยู่บริเวณถนนตลาดใหม่ ระหว่างซอย 7 และซอย 9 ในตำบลตลาดถัดไปจากที่ว่าการอำเภอเมืองฯ เพียงเล็กน้อย

ประเพณีและวัฒนธรรม[แก้]

บริเวณริมฝั่งแม่น้ำตาปี ปัจจุบัน เป็นที่พักผ่อนของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี

งานประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาว[แก้]

ประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่นี่มีอีกชื่อหนึ่งคือ งานเดือนสิบเอ็ด ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา กิจกรรมที่สำคัญได้แก่การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งรถพนมพระ และเรือพนมพระ ซึ่งรถและเรือพนมพระ อาจจะตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลัก หรือฉลุไม้ ตกแต่งจำลอง เสมือนฉากที่พระพุทธเจ้ากลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง ในงานพิธีจะใช้คนลาก เชื่อว่าผู้ที่ได้ร่วมลากจูงรถหรือเรือพนมพระจะได้อานิสสงค์หลายประการ การจัดพุ่มผ้าป่าเป็นการจำลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นตอน ๆ ด้วยการนำต้นไม้หรือกิ่งไม้ ประดับกับหลอดไฟสีต่าง ๆ บ้างก็จะจัดอุปกรณ์อื่นร่วมประกอบฉาก ทั้งการเขียนภาพ ปั้นรูปดินเหนียว อุปกรณ์ประกอบฉากจะไม่นิยมนำสิ่งมีชีวิตเช่นปลาสวยงาม เต่า หรือสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งชนิดไดมาจัดประกอบฉาก เพราะเชื่อว่าเป็นการทรมานสัตว์ และจะไม่ได้รับอานิสสงค์ และตกแต่งด้วยเครื่อง อัฐบริขาร เพื่อในเช้าวันรุ่งของวันออกพรรษาจะได้นิมนต์พระมาทำพิธีทอดผ้าป่า การจัดพุ่มผ้าป่ามีทั้งหน่วยงานในจังหวัด ทังภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมกิจกรรม และมีการประกวดกันด้วยงานประเพณีนี้จัดขึ้นบริเวณเขื่อนลำนำตาปีตั้งแต่บริเวณศาลหลักเมืองจนกระทั่งถึงโรงแรมวังใต้ ขึ้นอยู่กับจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่าในแต่ละปีจะเลือกเอาบริเวณใดในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาว ซึ่งจัดได้ว่าเป็นงานใหญ่งานหนึ่งของภาคใต้

งานวันเงาะโรงเรียน[แก้]

ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะมีความแตกต่างจากเงาะที่อื่น คือ หวาน และกรอบ ซึ่งนับเป็นความภูมิใจหนึ่งของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนั้น เพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงจัดให้มีการนำผลผลิตจากเงาะโรงเรียนและผลผลิตอื่น ๆ มาจำหน่ายและตั้งชื่อว่า งานวันเงาะโรงเรียน โดยจะจัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมหรือกลางเดือนกรกฎาคมของทุกปีในตัวอำเภอบ้านนาสาร

งานเทศกาลกินหอยนางรมฟรี[แก้]

หอยนางรมเป็นของขึ้นชื่อในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจะมีความแตกต่างจากหอยนางรมที่อื่น คือ มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ รสชาติหวาน โดยจะจัดขึ้นประมาณต้นเดือนมีนาคมของทุกปีในตัวอำเภอกาญจนดิษฐ์

การคมนาคม[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

ระยะทาง[แก้]

ระยะทางจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียงโดยประมาณ คือ
ระยะทางจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังอำเภอต่าง ๆ ภายในจังหวัดโดยประมาณ คือ

สถานีขนส่งหลักที่สำคัญ[แก้]

ท่าอากาศยาน[แก้]

สถานีรถไฟ[แก้]

  • สถานีรถไฟเขาหัวควาย
  • สถานีรถไฟเขาพลู
  • สถานีรถไฟบ้านนา
  • สถานีรถไฟห้วยมุด
  • สถานีรถไฟนาสาร
  • สถานีรถไฟพรุพี
  • สถานีรถไฟคลองปราบ
  • สถานีรถไฟบ้านพรุกระแชง
  • ที่หยุดรถไฟบ้านเกาะมุกข์
  • ที่หยุดรถไฟคลองขุด
  • ที่หยุดรถไฟบ่อกรัง
  • ที่หยุดรถไฟคลองยา
  • ที่หยุดรถไฟคลองสูญ
  • ที่หยุดรถไฟบ้านดอนรัก
  • ที่หยุดรถไฟบ้านทุ่งหลวง
  • ที่หยุดรถไฟบ้านขนาย
  • ที่หยุดรถไฟบ้านดอนเรียบ
  • ที่หยุดรถไฟคลองยัน
  • ที่หยุดรถไฟเขาหลุง
  • ที่หยุดรถไฟบ้านยาง
  • สถานีรถโดยสารประจำทาง[แก้]

    • สถานีขนส่งสุราษฎร์ธานี
    • ตลาดเกษตร 1
    • ตลาดเกษตร 2

    ท่าเทียบเรือ[แก้]

    • ท่าเทียบเรือนอน (ไปเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า)
    • ท่าเทียบเรือนอนเฟอร์รี่ (ไปเกาะเต่า)
    • ท่าเทียบเรือราชาเฟอร์รี่ ตำบลตลิ่งงาม
    • ท่าเทียบเรือซีทรานเฟอร์รี่ (หน้าทอน)
    • ท่าเทียบเรือเกาะสมุย (หน้าทอน)
    • ท่าเรือหน้าพระลานแม่น้ำ (เรือลมพระยา)
    • ท่าเทียบเรือบางรัก
    • ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสัก (แหลมทวด)
    • ท่าเทียบเรือราชาเฟอร์รี่
    • ท่าเทียบเรือซีทรานเฟอร์รี่
    • ท่าเทียบเรือท้องศาลา
    • ท่าเทียบเรือเกาะเต่า

    การศึกษา[แก้]

    ตราประจำ มรภ. สุราษฎร์ธานี
    ตราประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

    สถาบันอาชีวศึกษา[แก้]

    • วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
    • วิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์พาณิชยการ
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโกสุราษฎร์ธานี
    • วิทยาลัยเทคนิคกาญจนดิษฐ์
    • วิทยาลัยการอาชีพไชยา
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุยบริหารธุรกิจ
    • วิทยาลัยการอาชีพเวียงสระ
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองนาสาร
    • วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัยสุวรรณภูมิ
    • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี
    • วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ

    โรงเรียน[แก้]

    สถานที่สำคัญ[แก้]

    โบราณสถาน[แก้]

    วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

    วัด[แก้]

    พระอารามหลวง[แก้]

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ[แก้]

    อุทยานแห่งชาติ[แก้]

    อุทยานแห่งชาติเขาสก

    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า[แก้]

    เขตห้ามล่าสัตว์ป่า[แก้]

    ป่าสงวนแห่งชาติ[20][แก้]

    • ป่าเกาะพะงัน
    • ป่าเขาแดงราม และป่าเขาหน้าราหู
    • ป่าเขาท่าเพชร
    • ป่าเขาพนม และป่าพลูเถื่อน
    • ป่าเขาพลู
    • ป่าเขาพุทธทอง
    • ป่าคลองท่าเนียน และป่าเลนคลองพุมเรียง
    • ป่าคลองน้ำเฒ่า
    • ป่าคลองสก และป่าคลองพนม
    • ป่าคลองเหยียน
    • ป่าชัยคราม และป่าวัดประคู่
    • ป่าไชยคราม และป่าวังประดู่ แปลงที่สอง
    • ป่าท่าเคย ป่าคลองไทร ป่ามะลวน และป่าบางงอน
    • ป่าท่าชนะ
    • ป่าทุ่งรัง ควนเสียด บกไก่ฟ้า และคลองกงชัง
    • ป่าทุ่งใสไช
    • ป่าน้ำตกหินลาด
    • ป่าบางเบา และป่าคลองเซียด
    • ป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซา
    • ป่าบ้านหมาก ป่าปากพัง
    • ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม
    • ป่าเลนดอนสัก
    • ป่าเลนน้ำเค็มท่าฉาง
    • ป่าวัดประดู่
    • ป่าใสท้อน และป่าคลองโซง

    ธนาคาร[แก้]

    ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีธนาคารทั้งหมด 18 ธนาคาร และมีจำนวนสาขาของธนาคารทั้งหมด 192 สาขา ได้แก่

    โรงพยาบาล[แก้]

    โรงพยาบาลทั่วไป[แก้]

    • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
    • โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์
    • โรงพยาบาลทักษิณ
    • โรงพยาบาลศรีวิชัย
    • โรงพยาบาลค่ายวิภาวดีรังสิต
    • โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์
    • โรงพยาบาลไชยา
    • โรงพยาบาลเกาะพะงัน
    • โรงพยาบาลเกาะสมุย
    • โรงพยาบาลกรุงเทพสมุย
    • โรงพยาบาลสมุยอินเตอร์เนชั่นแนล
    • โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ
    • โรงพยาบาลบ้านนาสาร
    • โรงพยาบาลคีรีรัฐนิคม
    • โรงพยาบาลเคียนซา
    • โรงพยาบาลชัยบุรี
    • โรงพยาบาลดอนสัก
    • โรงพยาบาลวิภาวดี
    • โรงพยาบาลท่าชนะ
    • โรงพยาบาลท่าฉาง
    • โรงพยาบาลพุนพิน
    • โรงพยาบาลกองบิน 7
    • โรงพยาบาลท่าโรงช้าง
    • โรงพยาบาลพระแสง
    • โรงพยาบาลบ้านตาขุน
    • โรงพยาบาลบ้านนาเดิม
    • โรงพยาบาลพนม

    โรงพยาบาลจิตเวช[แก้]

    • โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

    ศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า[แก้]

    เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

    • ศาลากลางจังหวัดสุราษฏร์ธานีถูกลอบวางระเบิด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2525 ประมาณเที่ยงถึงบ่ายโมง ซี่งเป็นเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่สำคัญ เนื่องจากเหตุความขัดแย้งทางการเมือง ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำตาปีก่อนที่ย้ายไปในบริเวณสี่แยกแสงเพชร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง [21]
    • เรือยาวใหญ่ นาม "เจ้าแม่ตาปี" และเรือยาวกลาง นาม "เจ้าแม่ธารทิพย์" ชนะเลิศการแข่งขันเรือยาวชิงแชมป์ประเทศไทยถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2525
    • พายุไต้ฝุ่นเกย์ถล่มจังหวัด
    • การบินไทย เที่ยวบินที่ 261 ตกที่สนามบินสุราษฎร์ธานี
    • การรื้อสัมปทานเรือข้ามฟากสุราษฏร์ธานีเกาะสมุย
    • มติชาวสุราษฎร์ ห้ามปลุกเสกจตุคามวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
    • เหตุลอบวางระเบิดติดรถที่ลานจอดรถชั้นใต้ดินภายในตัวศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย

    บ้านพี่เมืองน้อง[แก้]

    ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีชื่อเสียง[แก้]

    พระสงฆ์[แก้]

    นักกีฬา[แก้]

    นักการเมือง[แก้]

    • สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 10 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการ กปปส.
    • รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัช วิชัยดิษฐ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
    • ภิญญา ช่วยปลอด อดีตรัฐมนตรีช่วยวาการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 4 สมัย
    • บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
    • เฉลิม พรหมเลิศ อดีตรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ภูเก็ต สมุทรสาคร อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตเลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท
    • จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย
    • ธานี เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
    • ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
    • วัชระ เพชรทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา และเจ้าของคอลัมน์ "วัชรทัศน์" ของ นสพ.แนวหน้า รายวัน
    • เชน เทือกสุบรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร
    • ธีรภัทร พริ้งศุลกะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
    • นิภา พริ้งศุลกะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 7 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
    • สมพร หลงจิ สมาชิกพรรคชาติไทย พรรคประชาราช พรรคมัชฌิมาธิปไตย ตามลำดับ และนักจัดรายการวิทยุ

    อื่น ๆ[แก้]

    อ้างอิง[แก้]

    1. กระโดดขึ้น ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
    2. กระโดดขึ้น พัฒนาการทางประวัติศาสตร์: จังหวัดสุราษฎร์ธานี, หอมรดกไทย
    3. กระโดดขึ้น "แฟนพันธุ์แท้ 25 เมษายน 2557 - เกาะทะเลไทย". แฟนพันธุ์แท้. 25 April 2014. สืบค้นเมื่อ 29 April 2014. 

    ความคิดเห็น

    1. วัฒนธรรมของ นานาประเทศที่อยู่ในอาเซียน ในภูมิภาคอาเซียนที่มีลักษณะภูมิประเทศและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน 4 ประเทศ
      ที่ผมจะยกตัวอย่างให้เพื่อนๆได้ทราบ ว่าเหตุผลที่ผม ได้ระดมนักลงทุนตลอดจนกลุ่มผู้ที่มีความสนใจในแผนธุรกิจของการจัดทำโครงการ senior Complex และผมได้เดินทางไปดูพื้นที่ตลอดจนหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและลักษณะวัฒนธรรมที่เหมาะสมจะเกิดขึ้นของโครงการในระดับอาเซียน
      ประเทศแรกที่มีลักษณะวัฒนธรรมคล้ายคลึง
      ประเทศที่ 1 ประเทศพม่า เป็นประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ภูมิประเทศ ลักษณะใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านเช่นลักษณะภูมิประเทศใกล้เคียงกับประเทศไทย ใกล้เคียงกับประเทศกัมพูชาใกล้เคียงกับประเทศลาววัฒนธรรม ก็เช่นเดียวกันการละเล่นของเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ และศาสนาก็จะมีศาสนาพุทธ เป็นศาสนาหลักของประเทศ ขนบธรรมเนียมประเพณี ประเทศพม่าก็เป็น มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งสองประเทศที่จะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ สังคมการเป็นอยู่ของประชาชน ไม่แตกต่างจากประเทศไทยไม่แตกต่างจากประเทศกัมพูชาไม่แตกต่างจาก ประเทศลาว อันนี้สำคัญ และทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านเศรษฐกิจก็เช่นเดียวกันมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับประเทศไทย ประเทศลาวและประเทศกัมพูชารายได้ของประชากร ต่อหัวก็มีความ ใกล้เคียงกัน การเจริญเติบโตของ เทคโนโลยี ก็มีความเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน ความมั่นคงของประเทศชาติยึดมั่นด้วยกฎบัตรของอาเซียนซึ่งเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอยู่แล้วอันนี้ยิ่งง่ายต่อการพัฒนา ในระบบมวลรวมของ การส่งเสริมการลงทุนในระดับ ภูมิภาค ตลอดจน บุคลากรที่จะให้บริการในโครงการ senior Complex เพื่อลดแล้วจะเป็นสมาชิกของ ประชาชนที่อยู่ในภูมิภาคของแต่ละประเทศซึ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตนมีการศึกษาที่ดีและ ชนชั้นแรงงานก็ ประหยัด ชนชั้นแรงงานนั้นจะมีค่าจ้างของแรงงานที่ค่อนข้างจะถูกที่สำคัญตอบสนองของนักลงทุนได้เป็นอย่างดี
      ประเทศที่ 2 น่าสนใจในการลงทุนการก่อสร้างโครงการ senior Complex คือประเทศลาว หรือสปปลาว หรือในสากลที่เรียกระบาดสาธารณรัฐประชาชนลาว อันนี้เป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนน้อย ซึ่งปัจจุบันนั้นมีประชากรหลักของประเทศอยู่ประมาณ 5 ล้านคนและสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในการ ที่นักลงทุนจะเข้าไปพัฒนาโครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์เพื่อบริการประชาชนทั่วไปในภูมิภาคของเอเชียหรือเป็นเซ็นเตอร์การให้บริการของโลก ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกันกับประเทศไทย ยิ่งโดยเฉพาะภูมิประเทศทางด้านภาคเหนือ เลขเด็ดเชียงรายเชียงใหม่ ลำพูนพะเยาจังหวัดน่านก็จะมีลักษณะพิเศษภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกันกับประเทศลาวเป็นอย่างยิ่ง ลักษณะของบรรยากาศหรือภูมิอากาศนั้นจะเป็นภูมิอากาศที่ปลอดมลภาวะหรือมายโอโซนที่ดีสำหรับผู้อยู่อาศัย และวัฒนธรรมทางด้านพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมทางด้านท้องถิ่น ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมทางด้านศาสนา

      ตอบลบ
    2. ประเทศที่ 2 น่าสนใจในการลงทุนการก่อสร้างโครงการ senior Complex คือประเทศลาว หรือสปปลาว หรือในสากลที่เรียกระบาดสาธารณรัฐประชาชนลาว อันนี้เป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนน้อย ซึ่งปัจจุบันนั้นมีประชากรหลักของประเทศอยู่ประมาณ 5 ล้านคนและสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในการ ที่นักลงทุนจะเข้าไปพัฒนาโครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์เพื่อบริการประชาชนทั่วไปในภูมิภาคของเอเชียหรือเป็นเซ็นเตอร์การให้บริการของโลก ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกันกับประเทศไทย ยิ่งโดยเฉพาะภูมิประเทศทางด้านภาคเหนือ เลขเด็ดเชียงรายเชียงใหม่ ลำพูนพะเยาจังหวัดน่านก็จะมีลักษณะพิเศษภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกันกับประเทศลาวเป็นอย่างยิ่ง ลักษณะของบรรยากาศหรือภูมิอากาศนั้นจะเป็นภูมิอากาศที่ปลอดมลภาวะหรือมายโอโซนที่ดีสำหรับผู้อยู่อาศัย และวัฒนธรรมทางด้านพระพุทธศาสนาวัฒนธรรมทางด้านท้องถิ่น ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมทางด้านศาสนา โดยเฉพาะทางด้านศาสนาพุทธ เอื้อเฟื้อจิตใจอารีตลอดจน อาหารอุปโภคบริโภค ซึ่งเรียบง่าย และคุณภาพของอาหารตอบโจทย์ ของ การดำรงชีพใน senior Complex เล่นชีวจิตก็ดี หรือจะเป็นทางด้านสมุนไพรก็ดี ทำให้ประเทศลาวเป็นที่ น่าท่องเที่ยวสำหรับต่างชาติซึ่งในปัจจุบันนี้ ประเทศลาวมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในภายในประเทศจำนวนมาก การต้อนรับเป็นอย่างดี ภาษา การติดต่อประสานงานง่ายการให้บริการ เป็นที่เคารพ ความนอบน้อม ของผู้บริการผู้รับใช้ เป็นที่น่าสนใจต่อนักลงทุน ตลอดจนการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนประเทศลาวยังให้บริการ และ ข้อกฎหมายเพื่อต่อนักลงทุนที่ดีเป็นอย่างยิ่ง นักลงทุนในภูมิภาคของเอเชีย ตอนนี้กำลัง เข้าไปลงทุนในประเทศ ลาว เป็นจำนวนมาก เข้าไปพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ระบบไฟฟ้าระบบประปาระบบ การรักษาพยาบาลสาธารณสุขสังกัด เพื่อบริการประชาชนภายในประเทศลาวบริการให้กับนักธุรกิจที่ไปลงทุนในประเทศลาวหรือนักท่องเที่ยวในประเทศลาว อันนี้ ยิ่งเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

      ตอบลบ
    3. ประเทศที่ 3 ประเทศกัมพูชา กัมพูชาเป็นประเทศที่ มีนักลงทุนในภูมิภาคของเอเชียและยุโรป ตะวันออกกลาง เข้ามาพัฒนา ส่งเสริมการลงทุน ทุกรูปแบบในประเทศ นโยบายของคณะรัฐบาลของประเทศกัมพูชาส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศกัมพูชาเป็นอย่างนี้ ทำให้นักลงทุนแต่ละกลุ่มในภูมิภาคของเอเชียในภูมิภาคของตะวันออกกลางในภูมิภาคของแอฟริกาในภูมิภาคของอเมริกาทุกประเทศผมจะยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ เข้ามาลงทุนในภายในประเทศ กัมพูชา เป็นอันดับ 2 ญี่ปุ่นเป็นประเทศในเอเชียที่ให้ความสนใจในการลงทุน แก่สมาชิก อาเซียน กัมพูชาเป็นเป้าหมายในการลงทุนของประเทศญี่ปุ่น แม้นว่าเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งการลงทุนในการพัฒนาระบบขนส่ง การลงทุนในการพัฒนาระบบ ของธนาคารสถาบันการเงิน การลงทุนในการพัฒนาในระบบ การสร้าง ศูนย์กระจายสินค้า ห้างสรรพสินค้า การลงทุนในการพัฒนาในระบบ ไฟฟ้าพลังงาน การลงทุนในการพัฒนา ระบบคมนาคม ทั้งทางเรือและทางบกรถชนการก่อสร้างโรงงานเพื่อผลิตสินค้าส่งเสริมให้นักธุรกิจภายในประเทศของตนเองมาลงทุนในประเทศกัมพูชา เพื่อที่จะผลิตสินค้าจำหน่ายในภูมิประเทศต่างๆเช่นเดียวกัน ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเรื่องที่จะพัฒนา ในในประเทศกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งที่น่าสนใจ ประเทศจีนเป็นประเทศที่ส่งเสริมการลงทุน ในประเทศกัมพูชาเป็นอันดับ 1 ประเทศจีนในระยะเวลาปี 2550 เป็นต้นมา ประเทศจีนได้ส่งเสริมการลงทุนและวางแผนการลงทุน ในประเทศกัมพูชาทั้งในระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาระบบโลจิสติกส์การพัฒนาระบบการบินการพัฒนาระบบการบริหารการพัฒนาระบบข้อมูลการพัฒนา ประเทศทางด้านสถาบันการเงินการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการศึกษาการพัฒนาประเทศ ทางด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และ นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนแหล่งพลังงาน ไฟฟ้า ถ่านหินและ เหล็ก มีการลงทุนอย่างใหญ่โตมโหฬาร เช่นในปี 2560 ที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ส่งเสริมการพัฒนาสนามบินทุกสนามบินในประเทศกัมพูชาตลอดตามแนวชายแดนภายในประเทศกัมพูชาชายแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาตลอดจนแนวทะเลจังหวัดตราดจนถึงประเทศเวียดนาม การพัฒนาทางน้ำ ทำให้มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมากการวางแผนการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่นิคมการอุตสาหกรรมนิคมการส่งเสริมการท่องเที่ยวบ่อนคาสิโนเกิดขึ้นใน ประเทศกัมพูชามีจำนวนมากการก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ และสิ่งที่สำคัญมีการกำหนดร่วมนโยบายเพื่อที่จะพัฒนาประเทศกัมพูชาเป็นสิงคโปร์ 2 ซึ่งความหมาย ในการพัฒนาประเทศและตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่ากัมพูชาจะเป็นสิงคโปร์ 2 ในระยะเวลา 10 ปี

      ตอบลบ
    4. ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังพัฒนาอยู่ พานักท่องเที่ยวหรือว่าท่านใดได้ไปท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชาก็จะพบว่ามีการเจริญเติบโตการพัฒนาประเทศเจริญเติบโตมากที่สุดในตอนนี้ ในเมื่อจะมีโรคภัยเรื่อง โรคโควิตก็ดีหรือ หวยรัฐบาลกลางก็ดี แต่กัมพูชายังไม่ลดละเรื่องการเจริญเติบโตและการพัฒนาประเทศ ประเทศที่ 3 ที่เข้าไปลงทุนใน ประเทศกัมพูชานั้น คือประเทศเกาหลี เกาหลีเป็นประเทศที่เข้าพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านหรือ ประเทศที่ขอรับการสนับสนุนการลงทุนเกาหลีใต้เข้าพัฒนาและร่วมมือในการพัฒนาทางด้านการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ด้วยเทคโนโลยีของเกาหลีการนำเข้าเหล็ก การนำเข้าของนักธุรกิจเพื่อส่งเสริมการลงทุนในการก่อสร้างโรงงานนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะใช้เทคโนโลยีของเกาหลีจนสร้างบรรทัดฐานในการทำงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็จะสร้างบรรทัดฐานในการทำงานมาตรฐานมาจากเกาหลีในการก่อสร้างเป็นเทคโนโลยีเป็นโนฮาวกัมพูชานั้นจะใช้มาตรฐานในการ ก่อสร้างไทยมาตรฐานในการพัฒนาทางเทคโนโลยี เกาหลีเป็นบรรทัดฐานในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างและอุตสาหกรรมกัมพูชาใช้มาตรฐานของเกาหลีเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้รับเหมาก็ดีและนักลงทุนก็ดีมาตรฐานต้องการก็ดี ประเทศที่ 3 คือประเทศที่ 4 คือสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกานั้นก็ได้ส่งนักลงทุนมาลงทุนในประเทศกัมพูชา ทั้งทางด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ตลอดจน พลังงาน พลังงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานกังหันลมเป็นเทคโนโลยีที่มาจากทางอเมริกาและแข่งขันในการลงทุนอยู่ในตลาดในขณะนี้โรงแรมขนาดใหญ่แบนขนาดใหญ่เพื่อบริการนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาจากกลุ่มทั้งภาคพื้นยุโรปและอเมริกาก็จะเป็นนักลงทุนมาจากอเมริกา ทำให้อสังหาริมทรัพย์และการพัฒนาในประเทศกัมพูชามีความแข็งขันกันสูงวางแผนการก่อสร้างขนาดใหญ่โรงแรมขนาดใหญ่ และศูนย์การค้าขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน ส่วนกลุ่มประเทศที่ 5 ซึ่งเป็นนักลงทุนรายย่อยเช่นนักลงทุนจากประเทศไทยมีการลงทุนร่วมระหว่างภาคเอกชนในไทยเพื่อที่จะไปพัฒนาในประเทศกัมพูชานั้น ส่วนมากจะเป็นนักธุรกิจที่ดูแล การท่องเที่ยวระหว่างตลอด แนวชายแดนจนถึง แนวชายแดนระหว่างประเทศ ทางทะเล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ดูบอลกันสิโนและโรงแรม นักลงทุนในประเทศไทยนั้นก็จะไปลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จำนวนมาก การส่งวัตถุดิบทั้งปูนซิเมนต์ไทย วัสดุการก่อสร้างเหล็กหินปูนทราย วัสดุกัน ก่อสร้างประเภทอื่น ก็เป็น นักลงทุนจากประเทศไทยที่ไปลงทุน ในประเทศกัมพูชา การสร้างร้านค้าส่ง การสร้างตัวแทนจำหน่ายยี่ปั๊วซาปั๊ว นักธุรกิจรายย่อย เครื่องมือการสื่อสารหรือโทรศัพท์ควรจะเป็นนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนแต่ถ้าเป็นโครงการใหญ่ๆนั้น กลุ่มบริษัทภายในประเทศไทยนั้น ยังไม่ปรากฏว่า มีนักธุรกิจไทยได้ทำโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งแข่งขันกับนานาประเทศอยู่ตอนนี้ ส่วนประเทศที่อยู่ในกลุ่มอื่นๆอย่างเช่นมาเลเซียสิงคโปร์ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ลักษณะ ของวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประชาชน ในประเทศกัมพูชา ในประเทศกัมพูชา ประชาชน มีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับประเทศไทยคล้ายคลึงกับประเทศพม่าลาว จิตใจประชาชนมีความอ่อนน้อม รับการบริการให้บริการบริการที่ดีจึงเป็นประเทศที่น่าลงทุน กลัวจน เหมาะสมที่จะก่อสร้างโครงการสิ่งแวดล้อมในระดับ อาเซียนบริการประชาชน รับบริการ กัมพูชาเป็นประเทศที่เหมาะสำหรับที่จะสร้างโครงการ senior Project อีกประเทศหนึ่ง และสอดคล้องกับการพัฒนาโดยรวมของประเทศที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

      ตอบลบ

    5. ประเทศที่ 4 คือประเทศไทยที่น่าลงทุนในการก่อสร้างโครงการซีเนียร์คอมเพล็กซ์เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีลักษณะ 4 ประการที่น่าลงทุน แบบนี้
      ลักษณะที่ 1 ประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรทรัพยากรมนุษย์ เพื่อบริการ ตลอดจน สามารถพัฒนากรทรัพยากรมนุษย์ให้บริการเป็นอย่างดี มีสถาบันการศึกษาจำนวนมากมีบุคลากรที่จะพัฒนาจำนวนมากมีสถานบริการทางด้านสาธารณสุขเป็นจำนวนมากบุคลากร
      ลักษณะที่ 2 ประเทศไทยมีลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพอากาศ ที่ น่าอยู่หน้าใสไม่ร้อนจนเกินไปและไม่หนาวจนเกินไป เหมาะสำหรับผู้สูงวัยที่สามารถที่จะพักอาศัยได้เป็นอย่างดี และสภาพอากาศ ยังมีคุณภาพในการอยู่อาศัยออกซิเจนในอากาศ ยังมีปริมาณมากยังถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศที่ดีของโลกมีโซนนิ่งที่ดีของโลก เป็นมายโอโซนที่ดีของโลก
      ลักษณะที่ 3 คุณลักษณะของโภชนาการ คุณภาพของอาหารและพืชผักผลไม้ที่ปลูกในประเทศไทยสามารถที่จะรองรับในการผลิต อาหารให้กับสมาชิกได้เป็นอย่างดีผลไม้นานาชนิดที่สามารถปลูกในทั่วโลกก็ยังสามารถที่จะปลูกในประเทศไทย อาหารทะเลนานาชนิดก็สามารถที่จะหาได้ในประเทศไทย เนื้อสัตว์นานาชนิดก็ยังสามารถที่จะหาได้ในประเทศในประเทศไทย เป็นอย่างมาก
      ลักษณะ ข้อที่ 4 เป็นลักษณะ ของวัฒนธรรมประเพณีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการต้อนรับแขกผู้มาเยือน ประเทศไทยมีลักษณะ บุคลิกยิ้มแบบสยามมีวัฒนธรรมอันดีทำให้นักลงทุนและธุรกิจประเภทการให้บริการ มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะก่อสร้างโครงการ senior Complex เกิดขึ้นภายในประเทศไทยเนื่องจากความสำคัญในข้อนี้เรื่อง วัฒนธรรม สังคมที่เป็นอยู่ของประชาชนแบบให้การต้อนรับเป็นอย่างดีของแขกผู้มาเยือน กสิกรในประเด็นนี้ก็สามารถเพียงพอต่อนักธุรกิจที่จะคัดเลือกประเทศไทยเป็นประเทศที่ก่อสร้างโครงการ senior Complex เกิดขึ้นและเป็นหนึ่งในประเทศ 10 ประเทศน่าจะเป็นบรรทัดฐานในการก่อสร้างโครงการเพื่อสมาชิกของนานาประเทศ การให้บริการและเป็นบรรทัดฐานต่อไปในการคัดเลือก ดรสมัยเหมมั่นจึงคิดแนวทางที่จะทำ

      ตอบลบ

    แสดงความคิดเห็น