EIC Analysis / Note
เจาะธุรกิจขานรับสังคมผู้สูงอายุ
14 ตุลาคม 2015
ผู้เขียน: ลภัส อัครพันธุ์
นอกจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นแล้วปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไปมีส่วนทำให้ธุรกิจด้านการดูแลผู้สูงอายุเติบโตอย่างก้าวกระโดด จำนวนประชากรสูงอายุทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในต่างประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงและอายุขัยของประชากรในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ประเทศในฝั่งตะวันตกที่พัฒนาแล้วจะมีความต้องการธุรกิจด้านการดูแลผู้สูงอายุมากกว่าประเทศในฝั่งตะวันออก เพราะลูกหลานจะให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุที่ค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ประเทศในเอเชียเริ่มมีแนวโน้มที่เปลี่ยนไปมากขึ้น ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจและลักษณะความเป็นเมืองที่สูงขึ้นทำให้วัยทำงานโดยส่วนใหญ่มีเวลาในการดูแลพ่อแม่ที่ชราภาพน้อยลง เช่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ โดยมีสัดส่วนจำนวนประชากรสูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ จากเดิมผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะอยู่บ้านและมีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว แต่ปัจจุบันกลับต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น สะท้อนจากสัดส่วนผู้หญิงที่ออกไปทำงานเพิ่มขึ้น 3% ใน 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่สัดส่วนผู้หญิงที่อยู่บ้านลดลงถึง 12% ส่งผลให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของสินค้าและบริการ ได้แก่ 1. ให้บริการการดูแลเป็นระยะเวลาสั้นๆ และ 2. จัดให้มีที่พำนักระยะยาว โดยประเภทแรกนั้นจะเน้นให้บริการการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตประจำวันทั้งในและนอกสถานที่ การจัดกิจกรรมพักผ่อนและการสร้างสังคมระหว่างหมู่เพื่อน ตลอดจนการให้บริการด้านการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ประเภทหลังเป็นการจัดให้มีที่พำนักระยะยาวโดยจะเน้นประเภทอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบบริการบ้านพักหรือห้องพักระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในโครงการเพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว นอกจากนี้ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุยังมีข้อแตกต่างกันได้อีกตามระดับความต้องการการช่วยเหลือทางด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุเอง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับพำนักระยะยาวสามารถแบ่งเจาะกลุ่มตลาดเป็นแบบที่เน้นผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้แต่ไม่มีครอบครัวหรืออยู่คนเดียวและอยากจะอยู่รวมกับผู้สูงอายุคนอื่นๆ ที่มีวัยใกล้เคียงกัน (active adult / independent living) หรือเป็นแบบที่เน้นผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ (assisted living) ทั้งนี้ ธุรกิจที่เน้นการให้บริการดูแลผู้สูงอายุในระยะสั้นหรือในแบบประเภทแรกก็สามารถแบ่งเจาะกลุ่มตลาดได้เช่นกัน อาทิ แบ่งเป็นการดูแลผู้สูงอายุที่กำลังพักฟื้นจากการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือกลุ่มที่ต้องการเพียงการดูแลแบบรายวัน (day care) โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่บ้าน ไม่มีคนคอยดูแลระหว่างวัน และต้องการหากิจกรรมทำระหว่างวัน เป็นต้น
แม้ว่าไทยจะเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุค่อนข้างมาก แต่ด้วยแนวโน้มการเติบโตของจำนวนประชากรสูงอายุในไทยที่สวนทางกับจำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลง ทำให้ลูกหลานจะต้องทำงานมากขึ้นและมีเวลาในการดูแลผู้สูงอายุน้อยลง ส่งผลให้มีความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันไทยมีประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีเพียง 840,000 คน หรือประมาณ 9% ของประชากรทั้งประเทศ แต่จากอัตราการอยู่คนเดียวของผู้สูงอายุในไทยที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลงทำให้คาดว่าผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มเป็น 18 ล้านคนในปี 2050 หรือ 27% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบเต็มตัว และถึงแม้ว่าสังคมไทยจะให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ แต่จากการที่จำนวนสมาชิกในครอบครัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และลูกหลานจะต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้นจนทำให้มีเวลาในการดูแลผู้สูงอายุน้อยลง ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุอย่างมากเช่นเดียวกับไทย แต่ด้วยการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนทำให้ลูกหลานจำเป็นจะต้องออกเดินทางไปทำงานไกลบ้านและทอดทิ้งให้พ่อแม่ที่ชราภาพต้องดูแลตนเองมากขึ้น จนทำให้รัฐบาลจีนต้องมีการนำเอากฎหมายดูแลสิทธิสำหรับผู้สูงอายุมาใช้ (elderly rights law) เพื่อบังคับให้ลูกหลานกลับไปเยี่ยมและดูแลพ่อแม่ที่บ้านมากขึ้น ยิ่งไปกว่านี้จากรายงานของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติของไทย พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุไทยราว 38% ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการดูแลที่มีประสิทธิภาพได้เนื่องจากความยากลำบากในการเดินทาง การไม่มีเวลา และไม่มีผู้ดูแลพาไป ปัจจัยนี้สะท้อนให้เห็นได้ว่าความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุในไทยจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต แม้ว่าจะมีการปลูกฝังให้ลูกหลานมีหน้าที่ต้องดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวก็ตาม
ปัจจุบันเริ่มเห็นธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในไทยขยายตัวมากขึ้นแต่ตลาดยังมีขนาดเล็ก เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุในปัจจุบันที่ยังไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในประเภทการให้บริการดูแลในระยะสั้นๆ อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดจะใหญ่ขึ้นจากจำนวนผู้สูงอายุที่จะขยายตัวกว่า 50% ในอีก 10 ปีข้างหน้า ปัจจุบันความต้องการในตลาดนี้ของคนไทยอาจจะยังมีไม่มากนักเพราะมีจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดที่ยังน้อยอยู่ อย่างไรก็ตามในอีก 5-10 ปี ข้างหน้านั้นคาดว่ากลุ่มผู้สูงอายุไทยในช่วงอายุ 65-74 ปีจะเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในขณะที่จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 75 ปีจะเพิ่มขึ้นมากในระยะยาวด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำให้อายุขัยเพิ่มขึ้น ดังนั้น คาดว่าธุรกิจดูแลผู้สูงอายุแบบให้บริการดูแลในระยะสั้นๆ มีแนวโน้มเติบโตได้มากกว่าในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า เพราะยังเป็นกลุ่มที่อยู่กับลูกเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันธุรกิจซึ่งจัดให้มีที่พำนักระยะยาวจะทยอยเติบโตขึ้นในระยะยาวเนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะต้องอยู่คนเดียวมากขึ้น โดยจากสถิติของ American Seniors Housing Association ระบุว่าอัตราการเติบโตของราคาห้องพักสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นหลังจากปี 2000 เป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้องกับการที่สหรัฐฯ มีอัตราผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเช่นกัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสถิตินี้แล้ว คาดว่าความต้องการของที่พำนักระยะยาวในไทยน่าจะขยายตัวสูงขึ้นมากเมื่อจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 55 ปีต่อประชากร มากกว่า 20% หรืออีกประมาณ 10 ปีต่อจากนี้
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในระยะสั้น ธุรกิจการจัดหาที่พำนักระยะยาวจะเติบโตด้วยตลาดผู้สูงอายุต่างชาติที่เกษียณการทำงานมากกว่า จากสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติสูงอายุนิยมมาเที่ยวไทยมากขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีการเดินทางมาเที่ยวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 8% นอกจากนี้ ข้อมูลจาก International Living Magazine1 รายงานว่า ไทยถูกจัดอยู่ใน 1 ใน 10 อันดับประเทศที่มีความเหมาะสมในการอยู่อาศัยยามเกษียณ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่แพง รวมถึงการบริการด้านการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ทั้งนี้ จุดท่องเที่ยวสำคัญๆ ก็ได้มีการลงทุนสร้างโครงการบ้านพักคนชราไว้รองรับชาวต่างชาติ โดยสถานที่ยอดนิยมสำหรับผู้สูงอายุชาวต่างชาติคือ เชียงใหม่ สมุย และหัวหิน เนื่องจากบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติและไม่พลุกพล่านเท่าเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ อย่าง กรุงเทพฯ หรือพัทยา โดยในจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนชาวญี่ปุ่นที่ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการเข้ามาอาศัยอยู่แบบระยะยาว 4,000 คนเพิ่มขึ้นจากปี 2013 ประมาณ 500 คนและเข้ามาอยู่อาศัยอย่างไม่เป็นทางการอีกราว 2,000 คน โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 300,000บาทต่อคนต่อปี ทำให้รายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีไม่ต่ำกว่า 1,000ล้านบาทต่อปี
1 International Living Magazine : The world’s best places to retire in 2015
Highlight
|
นอกจากจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นแล้วปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไปมีส่วนทำให้ธุรกิจด้านการดูแลผู้สูงอายุเติบโตอย่างก้าวกระโดด จำนวนประชากรสูงอายุทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในต่างประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงและอายุขัยของประชากรในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ประเทศในฝั่งตะวันตกที่พัฒนาแล้วจะมีความต้องการธุรกิจด้านการดูแลผู้สูงอายุมากกว่าประเทศในฝั่งตะวันออก เพราะลูกหลานจะให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุที่ค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ประเทศในเอเชียเริ่มมีแนวโน้มที่เปลี่ยนไปมากขึ้น ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจและลักษณะความเป็นเมืองที่สูงขึ้นทำให้วัยทำงานโดยส่วนใหญ่มีเวลาในการดูแลพ่อแม่ที่ชราภาพน้อยลง เช่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ โดยมีสัดส่วนจำนวนประชากรสูงอายุมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ จากเดิมผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะอยู่บ้านและมีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว แต่ปัจจุบันกลับต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น สะท้อนจากสัดส่วนผู้หญิงที่ออกไปทำงานเพิ่มขึ้น 3% ใน 10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่สัดส่วนผู้หญิงที่อยู่บ้านลดลงถึง 12% ส่งผลให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุมีความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของสินค้าและบริการ ได้แก่ 1. ให้บริการการดูแลเป็นระยะเวลาสั้นๆ และ 2. จัดให้มีที่พำนักระยะยาว โดยประเภทแรกนั้นจะเน้นให้บริการการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตประจำวันทั้งในและนอกสถานที่ การจัดกิจกรรมพักผ่อนและการสร้างสังคมระหว่างหมู่เพื่อน ตลอดจนการให้บริการด้านการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ประเภทหลังเป็นการจัดให้มีที่พำนักระยะยาวโดยจะเน้นประเภทอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบบริการบ้านพักหรือห้องพักระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในโครงการเพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว นอกจากนี้ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุยังมีข้อแตกต่างกันได้อีกตามระดับความต้องการการช่วยเหลือทางด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุเอง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับพำนักระยะยาวสามารถแบ่งเจาะกลุ่มตลาดเป็นแบบที่เน้นผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้แต่ไม่มีครอบครัวหรืออยู่คนเดียวและอยากจะอยู่รวมกับผู้สูงอายุคนอื่นๆ ที่มีวัยใกล้เคียงกัน (active adult / independent living) หรือเป็นแบบที่เน้นผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ (assisted living) ทั้งนี้ ธุรกิจที่เน้นการให้บริการดูแลผู้สูงอายุในระยะสั้นหรือในแบบประเภทแรกก็สามารถแบ่งเจาะกลุ่มตลาดได้เช่นกัน อาทิ แบ่งเป็นการดูแลผู้สูงอายุที่กำลังพักฟื้นจากการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือกลุ่มที่ต้องการเพียงการดูแลแบบรายวัน (day care) โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่บ้าน ไม่มีคนคอยดูแลระหว่างวัน และต้องการหากิจกรรมทำระหว่างวัน เป็นต้น
แม้ว่าไทยจะเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุค่อนข้างมาก แต่ด้วยแนวโน้มการเติบโตของจำนวนประชากรสูงอายุในไทยที่สวนทางกับจำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลง ทำให้ลูกหลานจะต้องทำงานมากขึ้นและมีเวลาในการดูแลผู้สูงอายุน้อยลง ส่งผลให้มีความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันไทยมีประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีเพียง 840,000 คน หรือประมาณ 9% ของประชากรทั้งประเทศ แต่จากอัตราการอยู่คนเดียวของผู้สูงอายุในไทยที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลงทำให้คาดว่าผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มเป็น 18 ล้านคนในปี 2050 หรือ 27% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบเต็มตัว และถึงแม้ว่าสังคมไทยจะให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ แต่จากการที่จำนวนสมาชิกในครอบครัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และลูกหลานจะต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้นจนทำให้มีเวลาในการดูแลผู้สูงอายุน้อยลง ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุอย่างมากเช่นเดียวกับไทย แต่ด้วยการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนทำให้ลูกหลานจำเป็นจะต้องออกเดินทางไปทำงานไกลบ้านและทอดทิ้งให้พ่อแม่ที่ชราภาพต้องดูแลตนเองมากขึ้น จนทำให้รัฐบาลจีนต้องมีการนำเอากฎหมายดูแลสิทธิสำหรับผู้สูงอายุมาใช้ (elderly rights law) เพื่อบังคับให้ลูกหลานกลับไปเยี่ยมและดูแลพ่อแม่ที่บ้านมากขึ้น ยิ่งไปกว่านี้จากรายงานของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติของไทย พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุไทยราว 38% ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการดูแลที่มีประสิทธิภาพได้เนื่องจากความยากลำบากในการเดินทาง การไม่มีเวลา และไม่มีผู้ดูแลพาไป ปัจจัยนี้สะท้อนให้เห็นได้ว่าความต้องการบริการดูแลผู้สูงอายุในไทยจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต แม้ว่าจะมีการปลูกฝังให้ลูกหลานมีหน้าที่ต้องดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวก็ตาม
ปัจจุบันเริ่มเห็นธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในไทยขยายตัวมากขึ้นแต่ตลาดยังมีขนาดเล็ก เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุในปัจจุบันที่ยังไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในประเภทการให้บริการดูแลในระยะสั้นๆ อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดจะใหญ่ขึ้นจากจำนวนผู้สูงอายุที่จะขยายตัวกว่า 50% ในอีก 10 ปีข้างหน้า ปัจจุบันความต้องการในตลาดนี้ของคนไทยอาจจะยังมีไม่มากนักเพราะมีจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดที่ยังน้อยอยู่ อย่างไรก็ตามในอีก 5-10 ปี ข้างหน้านั้นคาดว่ากลุ่มผู้สูงอายุไทยในช่วงอายุ 65-74 ปีจะเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในขณะที่จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 75 ปีจะเพิ่มขึ้นมากในระยะยาวด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำให้อายุขัยเพิ่มขึ้น ดังนั้น คาดว่าธุรกิจดูแลผู้สูงอายุแบบให้บริการดูแลในระยะสั้นๆ มีแนวโน้มเติบโตได้มากกว่าในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า เพราะยังเป็นกลุ่มที่อยู่กับลูกเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันธุรกิจซึ่งจัดให้มีที่พำนักระยะยาวจะทยอยเติบโตขึ้นในระยะยาวเนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะต้องอยู่คนเดียวมากขึ้น โดยจากสถิติของ American Seniors Housing Association ระบุว่าอัตราการเติบโตของราคาห้องพักสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นหลังจากปี 2000 เป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้องกับการที่สหรัฐฯ มีอัตราผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเช่นกัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสถิตินี้แล้ว คาดว่าความต้องการของที่พำนักระยะยาวในไทยน่าจะขยายตัวสูงขึ้นมากเมื่อจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 55 ปีต่อประชากร มากกว่า 20% หรืออีกประมาณ 10 ปีต่อจากนี้
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในระยะสั้น ธุรกิจการจัดหาที่พำนักระยะยาวจะเติบโตด้วยตลาดผู้สูงอายุต่างชาติที่เกษียณการทำงานมากกว่า จากสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติสูงอายุนิยมมาเที่ยวไทยมากขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีการเดินทางมาเที่ยวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 8% นอกจากนี้ ข้อมูลจาก International Living Magazine1 รายงานว่า ไทยถูกจัดอยู่ใน 1 ใน 10 อันดับประเทศที่มีความเหมาะสมในการอยู่อาศัยยามเกษียณ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่แพง รวมถึงการบริการด้านการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ทั้งนี้ จุดท่องเที่ยวสำคัญๆ ก็ได้มีการลงทุนสร้างโครงการบ้านพักคนชราไว้รองรับชาวต่างชาติ โดยสถานที่ยอดนิยมสำหรับผู้สูงอายุชาวต่างชาติคือ เชียงใหม่ สมุย และหัวหิน เนื่องจากบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติและไม่พลุกพล่านเท่าเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ อย่าง กรุงเทพฯ หรือพัทยา โดยในจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนชาวญี่ปุ่นที่ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการเข้ามาอาศัยอยู่แบบระยะยาว 4,000 คนเพิ่มขึ้นจากปี 2013 ประมาณ 500 คนและเข้ามาอยู่อาศัยอย่างไม่เป็นทางการอีกราว 2,000 คน โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 300,000บาทต่อคนต่อปี ทำให้รายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีไม่ต่ำกว่า 1,000ล้านบาทต่อปี
1 International Living Magazine : The world’s best places to retire in 2015
|
รูปที่ 1: ประชากรสูงอายุในแต่ละประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขึ้นของอายุขัยเฉลี่ย รวมไปถึงขนาดครอบครัวที่เล็กลงส่งผลดีต่อโอกาสการเติบโตของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ |
จำนวนประชากรสูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปต่อประชากรของประเทศ |
หน่วย: ล้านคน, % ผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศ |
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ CEIC |
อายุขัยโดยเฉลี่ยของประชากรในประเทศต่างๆ | จำนวนสมาชิกครอบครัวของแต่ละประเทศ | |
หน่วย: ปี | หน่วย: คน | |
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ World Bank |
รูปที่ 2: ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามลักษณะสินค้าและบริการ และตลาดที่มุ่งเน้น | ||
ประเภทของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ | ||
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ American Senior Housing Association |
รูปที่ 3: ประชากรไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบเต็มรูปแบบในปี 2025 | ||
สัดส่วนประชากรไทยในช่วงอายุต่างๆ | ||
หน่วย: ล้านคน | ||
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ US Census Bureau |
รูปที่ 4: ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในไทยมีโอกาสเติบโตเนื่องจากขนาดครอบครัวที่เล็กลงและอัตราการอยู่คนเดียวของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น | ||
จำนวนสมาชิกครอบครัวของคนไทย | อัตราการอยู่คนเดียวของผู้สูงอายุไทย | |
หน่วย: คน | หน่วย: % ผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียวต่อประชากรอายุมากกว่า 60 ปี | |
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ NSO | ||
อัตราส่วนเหตุผลที่ผู้สูงอายุไม่ไปรับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง | ||
หน่วย: % ผู้สูงวัยที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล | ||
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของการสำรวจในรายงานคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติปี 2013 |
รูปที่ 5: ในระยะสั้นธุรกิจที่พำนักระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในไทยจะยังไม่เติบโตมากนักแต่จะเติบโตมากขึ้นในระยะยาวเมื่อจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับภาวะในสหรัฐฯ | ||
อัตราการเติบโตของราคาห้องพักผู้สูงอายุในสหรัฐฯและ อัตราผู้สูงอายุสหรัฐฯ ที่อายุมากกว่า 55 ปีต่อประชากร | อัตราผู้ดูแลต่อผู้สูงอายุ | |
หน่วย: % YOY(ซ้าย), % ต่อประชากรทั้งหมด(ขวา) | หน่วย: คน | |
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ American Senior Housing Association และ CEIC | ||
การประมาณการอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรสูงอายุไทยในแต่ละช่วงอายุต่อปี | ||
หน่วย: % 5 ปี CAGR | ||
ที่มา: การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของ US Census Bureau |
RELATED
- ปรับกลยุทธ์อุตสาหกรรม EEC รับความเสี่ยงน้ำระยะยาว20 มิ.ย. 2018
- Construction Technology อาวุธคู่ใจ ผู้รับเหมาไทย06 มิ.ย. 2018
- ขุดปัญหา กลั่นทางออกสำหรับ SME ธุรกิจ oil jobber03 พ.ค. 2018
- ล้วงลึกอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม กับปัจจัยที่ไม่ควรละสายตา22 มี.ค. 2018
- ก้าวต่อไปของร้านค้าปลีกสมัยใหม่21 ก.พ. 2018
- พลิกฟื้นขนส่งสินค้าทางน้ำ ชูศักยภาพโลจิสติกส์ไทย07 ก.พ. 2018
- Hotel spa โอกาสทางธุรกิจแบบ win-win31 ม.ค. 2018
- Travel Tech…โอกาสของ startup ไทย29 พ.ย. 2017
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น