จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
|
|
เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ |
ข้อมูลทั่วไป |
|
|
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็น
จังหวัดใน
ภาคตะวันตกของ
ประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีรูปร่างยาวในแนวเหนือ-ใต้ และแคบในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยมีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทย ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร มี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอยู่ที่
เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในขณะที่เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ
เทศบาลเมืองหัวหิน
ประวัติศาสตร์[แก้]
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาไม่ค่อยแน่ชัด เนื่องจากเป็นพื้นที่แคบ ยามมีศึกสงครามยากแก่การป้องกันจึงต้องปล่อยให้เป็นเมืองร้างหรือยุบเมืองเป็นส่วนหนึ่งของ
เมืองเพชรบุรี ในอดีตเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาเล็ก ๆ ที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเพชรบุรี พอถึงรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้ง
เมืองบางนางรม ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกจึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ที่มีความอุดมสมบูรณ์และการตั้งบ้านเรือนหนาแน่นกว่า
ครั้นรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกุย เมืองคลองวาฬ และเมืองบางนางรมเข้าด้วยกัน โดยที่ตั้งเมืองยังคงตั้งอยู่ที่เมืองกุย (คืออำเภอกุยบุรีในปัจจุบัน) และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกุยเป็น
เมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ชื่อคล้องจองกันกับ
เมืองประจันตคีรีเขตซึ่งเดิมคือ
เกาะกงที่แยกออกจาก
จังหวัดตราด
ครั้นถึงรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2441 จึงย้ายเมืองมาอยู่ที่บ้านเกาะหลัก ต่อมาพระองค์ทรงจัดการปกครองแบบ
มณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองชั้นจัตวาซึ่งขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรี มีฐานะเป็นอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ สังกัด
เมืองเพชรบุรี ในช่วงนี้เมืองปราณบุรีซึ่งมีอาณาเขตติดอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ด้านทิศเหนือและเคยมีฐานะเป็นเมืองชั้นจัตวาขึ้นกับเมืองเพชรบุรี ก็ได้จัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรี สังกัดเมืองเพชรบุรีด้วย
[3] ส่วน
เมืองกำเนิดนพคุณขึ้นตรงกับ
เมืองชุมพร ด้วยมีพระราชดำริสงวนชื่อเมืองปราณไว้ (เมืองเก่าที่ตั้งอยู่ที่ปากน้ำปราณบุรี) ต่อมา วันที่ 2 มกราคม
พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ เมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อน ตั้งเป็นเมืองปราณบุรี
[4] มีที่ทำการเมืองอยู่ที่ตำบลเกาะหลัก ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อป้องกันการสับสนกับเมืองปราณที่ปากน้ำปราณบุรี
[5][6] หลังจากมีการยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์จึงไม่ได้ขึ้นตรงกับเมืองเพชรบุรีและ
มณฑลราชบุรีอีก
ภูมิศาสตร์[แก้]
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตั้งอยู่ใน
ภาคตะวันตก ตามการแบ่งระบบ 6 ภาคอย่างเป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและ
ราชบัณฑิตยสภา ในขณะที่การแบ่งภูมิภาคด้วยระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสานใต้) จัดเป็นจังหวัดใน
ภาคกลาง และการแบ่งทางอุตุนิยมวิทยาจัดเป็นจังหวัดใน
ภาคใต้ตอนบน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีเนื้อที่ประมาณ 6,367.620 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,979,762.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ประมาณ 212 กิโลเมตร และชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 224.8 กิโลเมตร มีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศอยู่ในตำบลคลองวาฬ
อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากอ่าวไทยถึงเขตแดนพม่าประมาณ 12 กิโลเมตร ระยะทางจาก
กรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (
ถนนเพชรเกษม) ประมาณ 399 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงเศษ และตามเส้นทางรถไฟสายใต้ ประมาณ 318 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4-6 ชั่วโมง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเกด (Manilkara hexandra)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: เกด (Manilkara hexandra)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ
ตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เกด ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด
การเมืองการปกครอง[แก้]
หน่วยการปกครอง[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การปกครองแบ่งออกเป็น 8
อำเภอ 48
ตำบล 388
หมู่บ้าน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 61 แห่ง ประกอบด้วย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์,
เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่
เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ และ
เทศบาลเมืองหัวหิน,
เทศบาลตำบล 14 แห่ง, และ
องค์การบริหารส่วนตำบล 44 แห่ง
[7] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีดังนี้
- อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
- อำเภอกุยบุรี
- เทศบาลตำบลกุยบุรี
- เทศบาลตำบลไร่ใหม่[ก]
|
- อำเภอทับสะแก
- อำเภอบางสะพาน
- เทศบาลตำบลกำเนิดนพคุณ
- เทศบาลตำบลบ้านกรูด
- เทศบาลตำบลร่อนทอง
|
- อำเภอบางสะพานน้อย
- อำเภอปราณบุรี
- เทศบาลตำบลปราณบุรี
- เทศบาลตำบลปากน้ำปราณ
- เทศบาลตำบลเขาน้อย
|
- อำเภอหัวหิน
- อำเภอสามร้อยยอด
- เทศบาลตำบลไร่ใหม่[ก]
- เทศบาลตำบลไร่เก่า
|
- หมายเหตุ
- ก เทศบาลตำบลไร่ใหม่ตั้งอยู่ทั้งในอำเภอกุยบุรีและในอำเภอสามร้อยยอด
ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อ | ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง |
1. พระพิชัยชลสินธ์ (จันทร์ ไชยมงคล) | ไม่ทราบข้อมูล |
2. พระพิชัยชลสินธ์ (สิงห์ ไชยมงคล) | ไม่ทราบข้อมูล |
3. พระพิชัยชลสินธ์ (พุธ ไชยมงคล) | ไม่ทราบข้อมูล |
4. หลวงบริบาลคีรีมาส (ิทม) | พ.ศ. 2436 |
5. พระพิบูลย์สงคราม (จร) | พ.ศ. 2444–2450 |
6. หม่อมเจ้าปรานีเนาวบุตร นวรัตน | พ.ศ. 2450–2458 |
7. พระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราษฎรนายก | พ.ศ. 2458–2471 |
8. อำมาตย์เอกหม่อมเจ้าทองเติม ทองแถม | พ.ศ. 2471–2476 |
9. หลวงภูวนารถนรานุบาล | พ.ศ. 2476–2478 |
10. พระบริหารเทพธานี | พ.ศ. 2478–2479 |
11. หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ | พ.ศ. 2480 |
12. หลวงวิมลประชาภัย | พ.ศ. 2480 –2481 |
13. นาวาโทขุนจำนงภูมิเวท | พ.ศ. 2481 |
14. ขุนบำรุงรัตนบุรี | พ.ศ. 2481–2484 |
15. นาวาโทสุรชิตชาญฤทธิ์รณ สุวรรณโนดม | พ.ศ. 2485–2487 |
16. นายแม้น อรจันทร์ | พ.ศ. 2482–2487 |
17. ขุนสำราญราษฎร์บริรักษ์ | พ.ศ. 2487–2488 |
18. นายอุดม บุญยประสพ | พ.ศ. 2488–2489 |
19. ขุนสนิทประชาราษฎร์ | พ.ศ. 2489–2490 |
20. ขุนปัญจพรรคพิบูล (พิบูล ปัญจพรรค์) | พ.ศ. 2490–2491 |
21. นายถนอม วิบูลย์มงคล | พ.ศ. 2491–2492 |
22. นายแสวง พิมทอง | พ.ศ. 2492–2494 |
23. นายประสงค์ อิศรภักดี | พ.ศ. 2494–2495 |
24. นายอรรถ วิสูตรโยธาพิบาล | พ.ศ. 2495 |
25. พันตำรวจเอกจำรัส โรจนจันทร์ | พ.ศ. 2495–2496 |
| ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ต่อ)
ชื่อ | ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง |
26. นายแสวง รุจิรัตน์ | พ.ศ. 2496 |
27. พันตำรวจเอกตระกูล วิเศษรัตน์ | พ.ศ. 2496–2497 |
28. นายประสงค์ อิศรภักดี | พ.ศ. 2497–2499 |
29. นายสอาด ปายะนันท์ | พ.ศ. 2499–2503 |
30. นายประจักษ์ วัชรปาน | พ.ศ. 2503–2510 |
31. นายประหยัด สมานมิตร | พ.ศ. 2510–2513 |
32. นายสุวิทย์ ยิ่งวรพันธุ์ | พ.ศ. 2513–2515 |
33. นายสุชาติ พัววิไล | พ.ศ. 2515–2518 |
34. นายสอาด ศิริพัฒน์ | พ.ศ. 2518–2519 |
35. นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒิ | พ.ศ. 2519–2522 |
36. นายมานิต วัลยะเพ็ชร์ | พ.ศ. 2522–2523 |
37. นายเสน่ห์ วัฑฒทาธร | พ.ศ. 2523–2525 |
38. นาวาเอกจำลอง ประเสริฐยิ่ง | พ.ศ. 2525–2526 |
39. นายบรรโลม ภุชงคกุล | พ.ศ. 2526–2528 |
40. หม่อมหลวงภัคศุก กำภู | พ.ศ. 2528–2529 |
41. นายบุญช่วย ศรีสารคาม | พ.ศ. 2529–2532 |
42. ร้อยเอกอำนวย ไทยานนท์ | พ.ศ. 2532–2537 |
43. นายกอบกุล ทองลงยา | พ.ศ. 2537–2539 |
44. นายประสงค์ พิทูรกิจจา | พ.ศ. 2539–2547 |
45. นายกิตติพงษ์ สุนานันท์ | พ.ศ. 2547–2549 |
46. นายประสงค์ พิทูรกิจจา | พ.ศ. 2549–2551 |
47. นายปานชัย บวรรัตนปราณ | พ.ศ. 2551–2552 |
48. นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล | พ.ศ. 2552–2558 |
49. นายทวี นริสศิริกุล | พ.ศ. 2558–2560 |
50. นายพัลลภ สิงหเสนี | พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน |
|
การศึกษา[แก้]
แหล่งท่องเที่ยว[แก้]
- ศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นมาในสมัย ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดศาลหลักเมือง เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เพื่อให้เป็นสิริมงคลและเป็นหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง
- ชายฝั่งทะเลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นชายฝั่งทะเลในพื้นที่แหลมผักเบี้ย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกชื่อชายฝั่งทะเลของจังหวัดเพชรบุรี-จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาว 200 กิโลเมตร[8] มีความยาวคอดไปถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[9] เพื่อแสดงถึงวีรกรรม พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้ปรากฏพระนามบนแผนที่[10]
ศาสนสถาน[แก้]
อุทยาน[แก้]
อ้างอิง[แก้]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น