นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี
จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำหรับนครศรีธรรมราช ในความหมายอื่น ดูที่ นครศรีธรรมราช (แก้ความกำกวม)
|
ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์" หรืออาณาจักรตามพรลิงก์, บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ
เนื้อหา
- 1 ประวัติศาสตร์
- 2 หน่วยการปกครอง
- 3 เจ้าเมืองนครและผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
- 4 รายนามนายก อบจ.นครศรีธรรมราช
- 5 ศูนย์ราชการในเขตภาคใต้
- 6 เศรษฐกิจ
- 7 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- 8 ประชากรในจังหวัด
- 9 ศาสนา
- 10 ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีชื่อเสียง
- 11 สถาบันการศึกษา
- 12 ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย
- 13 โรงพยาบาล
- 14 การคมนาคม
- 15 สถานที่ท่องเที่ยว
- 15.1 อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- 15.2 อำเภอลานสกา
- 15.3 อำเภอพรหมคีรี
- 15.4 อำเภอท่าศาลา
- 15.5 อำเภอสิชล
- 15.6 อำเภอเชียรใหญ่
- 15.7 อำเภอนบพิตำ
- 15.8 อำเภอช้างกลาง
- 15.9 อำเภอฉวาง
- 15.10 อำเภอถ้ำพรรณรา
- 15.11 อำเภอขนอม
- 15.12 อำเภอปากพนัง
- 15.13 อำเภอร่อนพิบูลย์
- 15.14 อำเภอทุ่งสง
- 15.15 อำเภอทุ่งใหญ่
- 15.16 อำเภอพิปูน
- 15.17 อำเภอนาบอน
- 15.18 อำเภอจุฬาภรณ์
- 15.19 อำเภอชะอวด
- 15.20 อำเภอบางขัน
- 15.21 สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
- 15.22 อุทยานแห่งชาติทางบก
- 15.23 อุทยานแห่งชาติทางทะเล
- 15.24 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
- 15.25 พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
- 15.26 เทศกาลงานประเพณี
- 15.27 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
- 15.28 สวนน้ำ
- 16 เพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
- 17 ความเป็นที่สุด
- 18 แหล่งทรัพยากรทางด้านพลังงาน
- 19 กีฬา
- 20 ทีมกีฬา
- 21 เมืองพี่เมืองน้อง
- 22 อ้างอิง
- 23 ดูเพิ่ม
- 24 แหล่งข้อมูลอื่น
ประวัติศาสตร์[แก้]
นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า 1800 ปีมาแล้ว หลัก ฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ ว่านครศรีธรรมราช มีกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อยจากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า "นครศรีธรรมราช"ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอด กันมา และสำเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกันเช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงก์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์(Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น
คำว่า"นครศรีธรรมราช" น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คำนี้ แปลความได้ว่า "นครอันงานสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม" และธรรมของราชา แห่งนครนี้ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา
ถ้าจะลำดับความเป็นมาของนครศรีธรรมราช จากหลักฐาน โบราณคดี และ ประวัติศาสตร์ที่สืบค้น ได้ในขณะนี้ พบว่ามีภูมิหลังอันยาวนานนับตั้งแตยุคหินกลาง ในราว 8,350-11 ,000 ปีที่ล่วงมา จากหลักฐานมีการพบเครื่องหิน ที่มีตัวขวานยาวใหญ่ (บางคนเรียกว่าระนาดหิน ) ที่อำเภอท่า ศาลา ในยุคโลหะ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสำริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุ กาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อำเภอฉวาง
นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อำเภอสิชลปัจจุบัน ยังมีร่องรอยโบราณสถาน และโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดใน นครศรีธรรมราช เช่น พระพุทธรูปสำริด ศิลปแบบอมราวดีของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปแบบคุปตะอินเดีย เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าใน ช่วงนี้นครศรีธรรมราชได้รับ อิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียอย่างมากมาย ทั้งในด้านศาสนา ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณี และการปกครอง จนกลายเป็นพื้นฐานวัฒนธรรม นครศรีธรรมราชมาถึง ปัจจุบันนี้
พุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ภายใต้ การปกครองของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองน่าจะ เนื่องมากจากการเป็นสถานีการค้าสำคัญของคาบสมุทรไทยเป็นจุดพักถ่าย ซื้อสินค้าระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตกที่ดีที่สุดในเวลานั้น ประกอบกับบริเวณ หาดทรายแก้วอันเป็นศูนย์ กลางของชุมชน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธองค์ความศรัทธาและ ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงเป็นปัจจัยชักนำให้ผู้คน จากทุกสารทิศในภาคใต้เข้ามา ตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราชอย่างหนาแน่น ในราว พ.ศ. 1700 เศษ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ก็สามารถจัดการปกครอง หัวเมืองรายรอบ ได้สำเร็จถึง 12 เมือง เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร คือ
1 | เมืองสายบุรี | ตราหนู |
2 | เมืองปัตตานี | ตราวัว |
3 | เมืองกลันตัน | ตราเสือ |
4 | เมืองปาหัง | ตรากระต่าย |
5 | เมืองไทรบุรี | ตรางูใหญ่ |
6 | เมืองพัทลุง | ตรางูเล็ก |
7 | เมืองตรัง | ตราม้า |
8 | เมืองชุมพร | ตราแพะ |
9 | เมืองปันทายสมอ(กระบี่) | ตราลิง |
10 | เมืองสระอุเลา (สงขลา) | ตราไก่ |
11 | เมืองตะกั่วป่า ถลาง | ตราหมา |
12 | เมืองกระบุรี | ตราหมู |
เหนือสิ่งอื่นใดราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ได้สถาปนาพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ ขึ้นอย่างมั่นคงในนครศรีธรรมราช มีการบูรณะพระเจดีย์เดิม ให้เป็นทรงระฆังคว่ำ อันเป็น ศิลปะลังกา จนนครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เป็นเมืองแม่แห่งวัฒนธรรม ที่ได้ถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมไปยัง หัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสุโขทัยซึ่งในเวลานั้นเพิ่งเริ่ม ก่อตัวขึ้นเป็นราช ธานีทาง ภาคเหนือตอนล่างใหม่ ๆ
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา(อาณาจักรอยุธยา) ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ว่างอยู่ หลวงสิทธิ นายเวรมหาดเล็ก (หนู) ซึ่งออกไปรับราชการ ตำแหน่งปลัดเมือง เป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียกรุง แก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิ จึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยาตรากองทัพไปปราบ และ จับตัวเจ้านคร (หนู) ได้ และมีพระราชดำริว่า เจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี หรือ อาณาจักรธนบุรี และให้ เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอ ออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช
ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระราชดำริว่า เจ้านคร (หนู) ได้เข้ามารับราชการ มีความจงรักภักดี และได้ถวายธิดาทำราชการ มีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา (หนู) เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138 (พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราช มีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิม เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราช จึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี
มีเกร็ดย่อย คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการ จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้ง พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)คนใหม่
แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับ ของพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านคร (หนู) ทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาว (ปราง) มาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจ จะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านคร จึงนำธิดา (ปราง) คนนี้ ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี เสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านคร (หนู) เสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิต ก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านคร (หนู) ให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านคร (หนู) ไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธน ตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนาง พาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมี ก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์ อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (ปริก)
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 165 ตำบล 1,428 หมู่บ้านการปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
เจ้าเมืองนครและผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช[แก้]
เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช[แก้]
ลำดับ | รายนาม[3] | เริ่มต้น | สิ้นสุด |
---|---|---|---|
1 | พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) | 2319 | 2325 |
2 | เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) | 2325 | 2357 |
3 | เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) | 2357 | 2381 |
4 | เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) | 2384 | 2410 |
5 | เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช (หนูพร้อม ณ นคร) | 2410 | 2440 |
รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช[แก้]
ลำดับ | รายนาม[4] | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|---|---|
1 | เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีศรีธรรมราช (หนูพร้อม ณ นคร) | พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2447 | 2 | พระยาสุนทราทรธุรกิจปรีชา (หมี ณ ถลาง) | พ.ศ. 2447 – พ.ศ. 2449 |
3 | พระยาตรังภูษาภิบาล (ถนอม บุณยเกตุ) | พ.ศ. 2449 – พ.ศ. 2452 | 4 | พระยาศิริธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัทมะ) | พ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2455 |
5 | พระยาประชากิจกรจักร์ (ฟัด มหาเปารยะ) | พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2462 | 6 | พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) | พ.ศ. 2462 – พ.ศ. 2474 |
7 | พระยาสุรพลนิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์) | พ.ศ. 2474 – พ.ศ. 2475 | 8 | พระยาบุรีสราธิการ (โจ้ กนิษฐารัตน์) | พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2476 |
9 | พระอรรถานิพนธ์ปรีชา (ประเสริฐ อรรถนิพนธ์ปรีชา) | พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2477 | 10 | พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกูรมะ) | พ.ศ. 2477 – พ.ศ. 2481 |
11 | เรือเอก พระสาครบุรานุรักษ์ราชนาวี (ปริก สุวรรณนนท์) | พ.ศ. 2481 – พ.ศ. 2484 | 12 | เรืออากาศเอก หลวงวุฒิราษฎร์รักษา (วุฒิ ศรสงคราม วุฒิราษฎร์รักษา) | พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2486 |
13 | ขุนภักดีดำรงฤทธิ์ (ภักดี ดำรงฤทธิ์) | พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2489 | 14 | ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ (สมวงศ์ วัฏฏสิงห์) | พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2489 |
15 | นายแม้น ออนจันทร์ | พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2493 | 16 | ขุนอารีราชการัณย์ (ชิต สุมนดิษฐ์) | พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2494 |
17 | ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี พิจิตรนรการ) | พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2495 | 18 | ขุนพิเศษนครกิจ (ชุบ กลิ่นสุคนธ์) | พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2497 |
19 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) | พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2500 | 20 | นายมงคล สุภาพงษ์ | พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2501 |
21 | นายจันทร์ สมบูรณ์กุล | พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2503 | 22 | นายสันต์ เอกมหาชัย | พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2512 |
23 | นายพันธ์ ลายตระกูล | พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514 | 24 | นายคล้าย จิตพิทักษ์ | พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2518 |
25 | นายเวียง สาครสินธุ์ | พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2518 | 26 | นายศุภโยค พานิชวิทย์ | พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2519 |
27 | นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร | พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2521 | 28 | นายธานี โรจรนาลักษณ์ | พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2525 |
29 | นายเอนก สิทธิประศาสน์ | พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2529 | 30 | เรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทอง | พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2530 |
31 | นายนิพนธ์ บุญญภัทโร | พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2532 | 32 | พันโทกมล ประจวบเหมาะ | พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2533 |
33 | ร้อยตรีณรงค์ แสงสุริยงค์ | พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2534 | 34 | ร้อยตรีกิตติ ประทุมแก้ว | พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2535 |
35 | นายวิสุทธิ์ สิงห์ขจรวรกุล | พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536 | 36 | นายสุชาญ พงษ์เหนือ | พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2537 |
37 | นายบัญญัติ จันทน์เสนะ | พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538 | 38 | นายประกิต เทพชนะ | พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2540 |
39 | นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ | พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2541 | 40 | นายสวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์ | พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2544 |
41 | นายสวัสดิ์ แกล้วทนงค์ | พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2547 | 42 | นายวิชม ทองสงค์ | พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2551 |
43 | นายภาณุ อุทัยรัตน์ | พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2552 | 44 | นายธีระ มินทราศักดิ์ | พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2554 |
45 | นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ | พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2556 | 46 | นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ | พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2557 |
47 | นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า | พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2559 | 48 | นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา | พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน |
รายนามนายก อบจ.นครศรีธรรมราช[แก้]
อบจ.นครศรีธรรมราช | ||
---|---|---|
ชื่อ-สกุล | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
1. นายประทีป วาระเพียง | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2540 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 | |
2. นายวินัย ผลรัตนไพบูลย์ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 | |
3. นายวิฑูรย์ เดชเดโช | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 14 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2551 20 เมษายน พ.ศ. 2551 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | |
4. นายพิชัย บุณยเกียรติ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2553 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
5. นายมาโนช เสนพงศ์ | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 | |
6. นายสนั่น ศิลารัตน์ | 11 มีนาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน (รักษาการ) | ปลัด อบจ. (คสช.) |
ศูนย์ราชการในเขตภาคใต้[แก้]
- องค์การสวนยาง (สำนักงานใหญ่)
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคใต้เขต 2 สำนักงานนครศรีธรรมราช
- กองทัพภาคที่ 4
- สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11
- ศูนย์วัณโรคเขต 11
- ศูนย์กามโรคเขต 11
- ศูนย์โรคเรื้อนเขต 11
- สำนักทางหลวงที่ 16
- ศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 4 (ทุ่งสง) นครศรีธรรมราช
- สำนักงานโบราณคดี ภาค 14
- ศูนย์เทคโนโลยีการสื่อสารเขต 11
- สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 14
- ศาลปกครองนครศรีธรรมราช สำนักงานคดีปกครองนครศรีธรรมราช
- ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 8
- สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เขต 8
- สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 4
- สำนักงานอนามัยเขต 11
- เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์เขต 19
- ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 11
- โรงพยาบาลแม่และเด็กเขต 11
- สำนักงานพัฒนาชุมชนเขต 8
- กองพลทหารราบที่ 5
- กองพลพัฒนาที่ 4
- กองบัญชาการช่วยรบที่ 4
- มณฑลทหารบกที่ 41
- มณฑลทหารบกที่ 43
- กรมทหารปืนใหญ่ที่ 5
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 15
- กรมทหารปืนใหญ่ที่ 5
- กรมทหารราบที่ 15
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 15
- ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบกที่ 4
- กองกำลังทหารพราน กองทัพภาคที่ 4
- สำนักชลประทานที่ 15 นครศรีธรรมราช
- สำนักงานสภาคริสตจักรภาคที่ 9
- สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5
- ศูนย์สำรวจอุทกวิทยา ที่ 7
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต 12
- สำนักงานเทคนิคและการสื่อสารเขต 8 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 12
- ศูนย์ข่าวทหารและพลเรือน เขต 8
- ฝายส่งน้ำและศูนย์บำรุงที่ 4 กรมชลประทาน
- ศูนย์ประชาชนชนบทเขต 8
- ศูนย์กลางการสื่อสารเขต 7
- ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อโดยแมลงที่ 1
- กองร้อยอาสารักษาดินแดนที่ 10
- กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42
- หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ที่ 44
- กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 427
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
- สำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12
- สำนักงานศึกษาธิการภาค 6 นครศรีธรรมราช
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ภาคใต้ เขต 2 (จังหวัดนครศรีธรรมราช)
- ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 21 จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ศูนย์บริการวิทยาการที่ 9 จังหวัดนครศรีธรรมราช (กระทรวงพลังงาน)
เศรษฐกิจ[แก้]
รายได้ประชากร[แก้]
เศรษฐกิจโดยทั่วไป ของจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นอยู่กับภาคเกษตร อาชีพหลัก คือ ทำสวนยางพารา ทำสวนปาล์มน้ำมัน ทำนา ทำไร่ การปลูกผลไม้(สวนสมรม) ทำสวนมะพร้าว การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาจากการสำรวจ จ้าพบว่า ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เท่ากับ 105,598 บาท ซึ่งเป็นอันดับที่ 10 ของภาคใต้ และอันดับที่ 34 ของประเทศ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด: พระบรมธาตุมีรัศมีล้อมรอบด้วย 12 นักษัตร โดยในสมัยรัชกาลพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช แห่งกรุงตามพรลิงก์ (อาณาจักรตามพรลิงก์) มีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตได้ครอบคลุมเมืองบริวารทั้งหลาย เมืองบริวารทั้งหมดต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช บรรดาเมืองบริวารทั้ง 12 เมืองได้แก่
- เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
- เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
- เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
- เมืองปะหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปะหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
- เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
- เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
- เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
- เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
- เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะ จำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
- เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea)
- สัตว์นํ้าประจำจังหวัด: ปลาหมอ (Anabas testudineus)
- นกประจำจังหวัด: นกกินปลีหางยาวเขียว (Aethopyga nipalensis)
- คำขวัญท่องเที่ยวประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
- คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครฯ อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
- อักษรย่อจังหวัด : นศ
- อักษรย่ออักษรโรมัน : NST
ประชากรในจังหวัด[แก้]
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อำเภอ/ปี | พื้นที่ (ตร.กม.) | 2560 (คน) | 2559 (คน) | 2558 (คน) | 2557 (คน) | 2556 (คน) | 2555 (คน) | 2554 (คน) | 2553 (คน) | 2552 (คน) | 2551 (คน) |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เมืองนครศรีธรรมราช | 617.40 | 271,848 | 271,330 | 271,126 | 270,099 | 268,900 | 268,010 | 267,148 | 267,440 | 266,613 | 267,232 |
ทุ่งสง | 802.97 | 161,356 | 160,724 | 159,924 | 159,174 | 156,991 | 155,786 | 154,042 | 152,808 | 151,563 | 151,122 |
ท่าศาลา | 363.89 | 113,397 | 113,067 | 112,565 | 111,879 | 111,295 | 110,327 | 109,418 | 108,834 | 108,170 | 108,006 |
ปากพนัง | 422.50 | 99,301 | 99,562 | 99,969 | 100,318 | 100,957 | 101,533 | 101,877 | 102,607 | 103,268 | 104,011 |
สิชล | 703.10 | 88,884 | 88,611 | 88,283 | 87,802 | 87,472 | 87,063 | 86,383 | 86,231 | 85,791 | 85,299 |
ชะอวด | 833.00 | 86,664 | 86,507 | 86,558 | 86,466 | 86,319 | 85,968 | 85,602 | 85,403 | 85,067 | 84,851 |
ร่อนพิบูลย์ | 335.50 | 82,255 | 82,031 | 81,976 | 81,810 | 81,675 | 81,330 | 80,990 | 81,116 | 81,110 | 80,893 |
ทุ่งใหญ่ | 603.28 | 74,691 | 74,317 | 73,994 | 73,662 | 73,201 | 72,605 | 71,638 | 71,121 | 70,386 | 69,739 |
ฉวาง | 528.20 | 67,160 | 67,293 | 67,425 | 67,380 | 67,332 | 67,021 | 66,726 | 66,491 | 66,286 | 66,179 |
หัวไทร | 417.73 | 66,486 | 66,503 | 66,679 | 66,787 | 66,863 | 66,912 | 66,877 | 67,055 | 67,243 | 67,434 |
บางขัน | 601.70 | 47,221 | 46,914 | 46,752 | 46,474 | 46,126 | 45,487 | 44,829 | 44,182 | 43,467 | 42,990 |
พระพรหม | 148.00 | 43,906 | 43,588 | 43,391 | 43,096 | 42,821 | 42,499 | 42,099 | 41,787 | 41,638 | 41,516 |
เชียรใหญ่ | 232.70 | 43,318 | 43,457 | 43,500 | 43,533 | 43,598 | 43,584 | 43,542 | 43,571 | 43,657 | 43,890 |
ลานสกา | 342.90 | 40,952 | 40,900 | 40,875 | 40,783 | 40,560 | 40,406 | 40,223 | 40,291 | 40,209 | 40,162 |
พรหมคีรี | 321.50 | 37,530 | 37,513 | 37,461 | 37,363 | 37,072 | 36,906 | 36,492 | 36,435 | 36,227 | 36,092 |
นบพิตำ | 720.15 | 33,551 | 33,320 | 33,183 | 32,882 | 32,605 | 32,219 | 31,849 | 31,488 | 31,125 | 30,785 |
จุฬาภรณ์ | 192.50 | 31,743 | 31,584 | 31,481 | 31,441 | 31,337 | 31,151 | 30,968 | 30,935 | 30,816 | 30,720 |
เฉลิมพระเกียรติ | 124.10 | 31,597 | 31,572 | 31,549 | 31,564 | 31,502 | 31,551 | 31,625 | 31,919 | 31,854 | 31,986 |
ขนอม | 433.90 | 30,446 | 30,393 | 30,234 | 30,022 | 29,792 | 29,561 | 29,342 | 29,026 | 28,763 | 28,397 |
ช้างกลาง | 232.50 | 29,900 | 29,909 | 30,081 | 30,064 | 30,036 | 30,049 | 29,928 | 29,949 | 29,914 | 29,833 |
พิปูน | 363.80 | 29,216 | 29,226 | 29,269 | 29,307 | 29,330 | 29,243 | 29,038 | 28,781 | 28,630 | 28,486 |
นาบอน | 192.89 | 26,814 | 26,934 | 27,077 | 27,001 | 27,018 | 26,897 | 26,845 | 26,686 | 26,504 | 26,489 |
ถ้ำพรรณรา | 169.10 | 19,246 | 19,177 | 19,178 | 19,121 | 19,041 | 18,810 | 18,590 | 18,405 | 18,270 | 18,051 |
รวมทั้งจังหวัด | 9,942.502 | 1,557,482 | 1,554,432 | 1,552,530 | 1,548,028 | 1,541,843 | 1,534,887 | 1,526,071 | 1,522,561 | 1,516,499 | 1,513,163 |
- อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[5]
ศาสนา[แก้]
ชาวนครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ ประมาณ 92.08% รองลงมา คือ ศาสนาอิสลาม ประมาณ 7.03% ศาสนาคริสต์ ประมาณ 0.89% นอกจากนั้นเป็นศาสนาอื่น ๆ (ข้อมูลประชากร 1,516,499 คน ปี พ.ศ. 2552)ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีชื่อเสียง[แก้]
บุคคลในประวัติศาสตร์[แก้]
- พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) พระเจ้าประเทศราชผู้ครองนครศรีธรรมราชในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
- เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) หรือเจ้าพระยานครพัฒน์ อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระโอรสในกรมหมื่นอินทรพิทักษ์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์)
- กรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) พระมเหสีฝ่ายซ้ายในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) กับหม่อมทองเหนี่ยว
- เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง พระสนมในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) และเป็นมารดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)
- เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) หรือเจ้าพระยานครน้อย อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้นสกุล ณ นคร, โกมารกุล ณ นคร และจาตุรงคกุล เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง และเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร)
- เจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ โกมารกุล ณ นคร) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ต้นสกุล โกมารกุล ณ นคร
- เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) อดีตเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)
- พระยาเสน่หามนตรี (น้อยเอียด ณ นคร) บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ต้นสกุล จาตุรงคกุล
- เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระชนนีในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม
- เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก พระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท และพระชนนีในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช เป็นธิดาเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) กับท่านผู้หญิงชุ่ม
- เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว พระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นธิดาพระยาจักรีเมืองนครศรีธรรมราช และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต กรมหลวงเทพพลภักดิ์ และหม่อมไกรสร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ)
- เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์
- เจ้าจอมน้อยเล็ก พระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)
- เจ้าจอมมารดาบัว พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) และพระชนนีในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์
- เจ้าจอมหนูชี พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยามหาศิริธรรม (น้อยใหญ่ ณ นคร)
- เจ้าจอมอิ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร)
- เจ้าจอมจับ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร)
- เจ้าจอมเป้า พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร)
- เจ้าจอมอำพัน พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร)
- เจ้าจอมกุหลาบ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอุทัยธานี (ม่วง ณ นคร)
- เจ้าจอมเขียน พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร)
- เจ้าจอมทับทิม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร)
- เจ้าจอมเกตุ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาวิชิตสรไกร (กล่อม ณ นคร)
- เจ้าจอมสว่าง พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อยกลาง ณ นคร) และท่านผู้หญิงดาวเรือง
- เจ้าจอมนวล พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยาเสนานุชิด (นุช ณ นคร)
- เจ้าจอมเพิ่ม พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระอิศราธิไชย (กลิ่น ณ นคร)
- เจ้าจอมพิณ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระศรีสุพรรณดิษฐ์ (เสม ณ นคร)
- เจ้าจอมมิ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในนายสนิทยศสถาน (พร้อม จาตุรงคกุล)
- เจ้าจอมสุวรรณ พระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดาในพระยากาญจนดิษฐบดี (พุ่ม ณ นคร)
ข้าราชการ[แก้]
- กำจร สถิรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนที่ 11
- ขรรค์ชัย กัมพลานนท์ อดีตเสมียนกระทรวงมหาดไทย
- พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์) อดีตนายตำรวจจอมขมังเวทย์ มีชื่อเสียงเป็นอันมากในการปราบโจรร้ายในภูมิภาคต่างๆ ของไทย
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ
- ชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
- ประวีณ ณ นคร อดีตเลขาธิการ กพ.
- พ่วง สุวรรณรัฐ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- โสภณ ดำนุ้ย อดีต ผอ.องค์การสวนสัตว์
- ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช, ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- สุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ ป.ป.ช., อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
- ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม กรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศ รัชกาลที่ 9
นักคิดและนักกวี[แก้]
- ประเวศ ลิมปรังษี จิตรกร, สถาปนิก
- ไมตรี ลิมปิชาติ กวี, จิตรกร, นักเขียน
- ศิริวร แก้วกาญจน์ กวี, นักเขียน
- จำลอง ฝั่งชลจิตร นักเขียน
- ศิลา โคมฉาย - นักเขียน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
- บัญชา พงษ์พานิช นักคิด นักเขียน นักกิจกรรมเพื่อสังคม
- อังคาร กัลยาณพงศ์ กวี, จิตรกร
- เกษม จันทร์ดำ กวี, นักเขียน
การเมือง[แก้]
- สมชาย วงศ์สวัสดิ์ - นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26
- ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ - เลขาธิการอาเซียน คนที่ 12 / อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ชนาพัทธ์ ณ นคร - อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- ชินวรณ์ บุณยเกียรติ - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ - นักเคลื่อนไหวทางการเมือง / อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์
- แทนคุณ จิตต์อิสระ - นักแสดง, อดีต สส.เขตดอนเมือง
- ธีระ วงศ์สมุทร - หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พิชัย บุณยเกียรติ - อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช / อดีตสมาชิกวุฒิสภา / อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- วิทยา แก้วภราดัย - อดีตประธานวิปรัฐบาล / อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- สมศักดิ์ โกศัยสุข - นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
- ภิญโญ สาธร - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- สัมพันธ์ ทองสมัคร - อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ - อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- สุรชัย แซ่ด่าน - นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
- ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- สุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- เทพไท เสนพงศ์ - อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- สำราญ รอดเพชร - นักเคลื่อนไหวทางการเมือง / นักข่าว / นักหนังสือพิมพ์
ดาราและนักร้อง[แก้]
- กิตติคุณ เชียรสงค์
- เขมสรณ์ หนูขาว
- จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
- โจจิรัฏฐ์ รินทรวิฑูรย์
- โชเล่ย์ ดอกกระโดน
- ฐกฤต เหมอรรณพจิต
- ณัฐชา จันทพันธ์
- ณฉัตร จันทพันธ์
- ธัญสินี พรมสุทธิ์
- นนธวรรณ ทองเหล็ง
- นาธาน โอร์มาน
- ปิยวัฒน์ สุทธิช่วย
- ปุณยาพร พูลพิพัฒน์
- พิชญา เชาวลิต
- เพลินศิลป์ เกตุแก้ว
- ภิญโญ เพชรแก้ว
- มัณฑนา หิมะทองคำ
- มีเรีย เบนเนเดดตี้
- ยงยุทธ์ ดำศรี
- รณชัย ดีถนอม
- รัชนก ศรีโลพันธุ์
- รุจน์ รณภพ
- เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์
- วิชเวช เอื้ออำพน
- วิฑูรย์ กรุณา
- ศรุต สุวรรณภักดี
- ศุภชัย ศรีวิจิตร
- ศุภักษร จงศิริ
- สุรัสวดี เชื้อชาติ
- ไหมแก้ว เพชรแก้ว
- อัจฉรา ทองเทพ
- เอกชัย ศรีวิชัย
นักกีฬา[แก้]
- ขงเบ้ง ม.รัตนบัณฑิต นักมวยอดีตแชมป์ช่อง7
- เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง นักมวย ฉายายอดมวยใต้
- จำรัส ฤทธิเดช นักกรีฑาทีมชาติไทย
- เชิดชัย อุดมไพจิตรกุล นักมวยอดีตเหรียญทองเอเชี่ยนเกมส์และ ซีเกมส์
- ธีรพงษ์ ไดสตาร์ยิม นักมวยอดีตแชมป์ แพน IBF รุ่นแบนตัมเวท
- นันทปรีชา คำแหง อดีตนักฟุตบอลทีมธนาคารกรุงเทพ
- ปิยะนุช แป้นน้อย นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- ปีศาจแดง ก.กุมานนท์ นักมวยอดีตแชมป์ซูเปอร์ฟลายเวท
- พวงน้อย เจนกิจ อดีตนักเซปัคตะกร้อทีมชาติไทย เหรียญทองเอเชียนเกมส์
- พยัคฆ์ นครหลวงโปรโมชั่น นักมวยอดีตแชมป์รุ่นมินิฟลายเวท
- เพ็ญศิริ เหล่าศิริกุล อดีตนักยกน้ำหนักทีมชาติไทย
- ศิริพงษ์ ศิริรัตน์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- สระราวุฒิ ตรีพันธ์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- สวาท ขอนแก้ว อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- สาริกาเล็ก อ.เอกรินทร์ นักมวยอดีตแชมป์รุ่นไลท์ฟลายเวท
- สำราญทอง เกียรติบ้านช่อง อดีตรองแชมป์ยอดมวยไทย
- ศิริพงษ์ ศิริรัตน์ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- อัจฉราพร คงยศ นักวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- อภิรักษ์ ศรีอรุณ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- เอกวุฒิ มะลิซ้อน อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย รุ่น 19ปี
- โอเล่ห์ เกียรติวันเวย์ นักมวย ซูเปอร์แบนตั้มเวท
- พิชยะ สุนทรท้วม นักวิ่งทีมชาติไทย (โรงเรียนทุ่งสง)
สถาบันการศึกษา[แก้]
การอุดมศึกษา[แก้]
รัฐบาล[แก้]
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช อำเภอพระพรหม
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนานครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม
- วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ ศูนย์การศึกษานครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- สถาบันพระบรมราชชนก
- สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
เอกชน[แก้]
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (SCT) อำเภอทุ่งสง
- สถาบันซิว-เสงี่ยม เพื่อภาษาและวัฒนธรรมข้ามชาติ อำเภอทุ่งสง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ศูนย์ประสานงานนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ห้องเรียนภาคใต้ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์นครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
การอาชีวศึกษา[แก้]
- วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเทคนิคสิชล อำเภอสิชล
- วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง อำเภอทุ่งสง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง
- วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช อำเภอช้างกลาง
- วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช อำเภอพระพรหม
- วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร อำเภอหัวไทร
- วิทยาลัยการอาชีพพรหมคีรี อำเภอพรหมคีรี
- วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อำเภอพรหมคีรี
การอาชีวศึกษาเอกชน[แก้]
- วิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจบัณฑิต อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเทคโนโลยีรัชต์ภาคย์ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเทคโนโลยีนวัตกรรม อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยอาชีวศึกษานครพณิชยการ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- โรงเรียนประทีปศาสน์พณิชยการ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
- วิทยาลัยเทคโนโลยีเจริญมิตรพณิชยการ อำเภอฉวาง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ (เอส.เทค) อำเภอทุ่งสง
- โรงเรียนพณิชยการทุ่งสง อำเภอทุ่งสง
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาปากพนัง อำเภอปากพนัง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีทักษิณอาชีวศึกษา อำเภอปากพนัง
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาวีรศิลปิน อำเภอร่อนพิบูลย์
- โรงเรียนพณิชยการศักดิ์ศิลปิน อำเภอร่อนพิบูลย์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสิชล อำเภอสิชล
โรงเรียน[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย[แก้]
โรงพยาบาล[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่: โรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช
การคมนาคม[แก้]
ท่านสามารถใช้บริการรถเช่าแบบขับเองได้เมื่อเดินทางมายังนครศรีธรรมราชทั้ง คาร์พลัส เร้นท์ อะคาร์, คาร์สกู๊ด เร้น อะคาร์, นครแท็กซี่ หรือท่านสามารถเรียกบริการรถเช่าและแท็กซี่ได้ที่ โทร.085-369-2772ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มีรถสองแถว วิ่งบริการรอบเมือง และจากนครศรีธรรมราชไปสู่อำเภอใกล้เคียง หรือจังหวัดข้างเคียง สามารถเลือกใช้บริการได้ทั้งมีรถตู้ รถเมล์ รถโดยสาร และรถไฟ
- จากนครศรีธรรมราชไปยังจังหวัดใกล้เคียง
- กระบี่ 152 กิโลเมตร
- ตรัง 123 กิโลเมตร
- พัทลุง 115 กิโลเมตร
- สงขลา 161 กิโลเมตร
- สุราษฎร์ธานี 141 กิโลเมตร
- จากอำเภอเมืองนครศรีธรรมราชไปยังอำเภออื่น ๆ
- อำเภอพระพรหม 15 กิโลเมตร
- อำเภอพรหมคีรี 21 กิโลเมตร
- อำเภอลานสกา 21 กิโลเมตร
- อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 22 กิโลเมตร
- อำเภอท่าศาลา 28 กิโลเมตร
- อำเภอร่อนพิบูลย์ 32 กิโลเมตร
- อำเภอปากพนัง 36 กิโลเมตร
- อำเภอจุฬาภรณ์ 50 กิโลเมตร
- อำเภอช้างกลาง 50 กิโลเมตร
- อำเภอเชียรใหญ่ 52 กิโลเมตร
- อำเภอนบพิตำ 52 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งสง 55 กิโลเมตร
- อำเภอสิชล 66 กิโลเมตร
- อำเภอหัวไทร 66 กิโลเมตร
- อำเภอฉวาง 71 กิโลเมตร
- อำเภอชะอวด 71 กิโลเมตร
- อำเภอนาบอน 72 กิโลเมตร
- อำเภอพิปูน 93 กิโลเมตร
- อำเภอบางขัน 98 กิโลเมตร
- อำเภอขนอม 100 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งใหญ่ 102 กิโลเมตร
- อำเภอถ้ำพรรณรา 103 กิโลเมตร
ทางรถไฟ[แก้]
- รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพ มีขบวนรถเร็วขบวนที่173/174 , รถด่วนขบวนที่85/86 ไปนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 832 กิโลเมตร
ทางรถโดยสารประจำทาง[แก้]
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารทั้งแบบธรรมดา และปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี), อำเภอขนอม มีรถ วีไอพี ปรับอากาศ ชั้น 1 ขนอม-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-ขนอมทางรถยนต์ส่วนบุคคล[แก้]
การเดินทางจากกรุงเทพ มายัง นครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร แล้วใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ผ่านสุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง จนถึงนครศรีธรรมราช หรือ ถึงอำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี แล้วใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 เลียบชายฝั่งทะเล ไปจนถึงนครศรีธรรมราช รวมระยะทาง 780 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางยังอำเภออื่น ๆ หรือจังหวัดใกล้เคียงได้อีกด้วยทางอากาศยาน[แก้]
ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช มีเที่ยวบินให้บริการ 12 เที่ยวบินต่อวัน โดยมี 3 สายการบินคือ นกแอร์ ไทยแอร์เอเชียและ ไทยไลอ้อนแอร์ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชบริการรถยนต์ส่วนบุคคลให้เช่า[แก้]
อัตราค่าบริการมาตรฐานอยู่ที่ 1,100 บาทต่อวัน หรือมากกว่าตามขนาดของรถยนต์ สามารถรับและคืนรถได้ที่ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช และตัวเมืองสถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช[แก้]
- วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ศาลหลักเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์๘๔ (ทุ่งท่าลาด)
- เก๋งจีนวัดแจ้ง
- เก๋งจีนวัดประดู่
- อนุสรณ์สถาน พระรัตนธัชมุนี วัดท่าโพธิ์วรวิหาร
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
- กำแพงเมืองเก่า และ สนามหน้าเมือง
- บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดเสมาเมือง
- บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และ ฐานโบสถ์โบราณ วัดเสมาชัย (วัดร้าง) ภายใน โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง
- บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดหน้าพระลาน
- กุฏิทรงไทย วัดวังตะวันตก
- เจดีย์ยักษ์ และ พระเงิน
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.๙
- อนุสาวรีย์วีรไทย ค่ายวชิราวุธ
- หอพระพุทธสิหิงค์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
- อนุสาวรีย์เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ลานตะเคียน ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ศาลพระเสื้อเมืองนครศรีธรรมราช ติดกับ โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
- วัดสวนหลวง
- หลวงพ่อองค์ใหญ่ และ ฐานเจดีย์โบราณ วัดท้าวโคตร
- สำนักวิปัสสนากรรมฐาน สวนพุทธธรรม วัดชายนา
- จวนออกญาเสนาภิมุข ถนนนางงาม (ข้างศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช)
- หอพระอิศวร
- หอพระนารายณ์
- เสาชิงช้า (หอพระอิศวร)
- อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (เรือนจำเก่า)
- สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช (เรือนจำเก่า)
- ศาลาประดู่หก (ศาลาโดหก)
- สระล้างดาบศรีปราชญ์ ภายใน โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
- หอพระสูง ภายใน โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช ฝั่ง2
- สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
อำเภอลานสกา[แก้]
- น้ำตกกะโรม
- หมู่บ้านคีรีวง
- น้ำตกสอยดาว
- น้ำตกวังไม้ปัก
- ถ้ำแก้วสุรกานต์
- สำนักสงฆ์เทวศิษฐ์ และ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์พ่อท่านคล้าย (เขาธง)
- น้ำตกหนานโจน
อำเภอพรหมคีรี[แก้]
- น้ำตกพรหมโลก
- น้ำตกอ้ายเขียว
- เรือนรับรองเมืองนคร
- วัดเขาขุนพนม
- บ้านปลายอวน
- วัดเขาปูน
- น้ำตกสองรัก (น้ำตกวังลุง)
อำเภอท่าศาลา[แก้]
- อุทยานแห่งชาติเขานัน
- น้ำตกสุนันทา
- น้ำตกกรุงนาง
- น้ำตกคลองปาว
- หาดทรายแก้ว
- หาดสระบัว
- หาดซันไรซ์
- โบราณคดีวัดโมคลาน
อำเภอสิชล[แก้]
- น้ำตกยอดน้ำ
- เขาพลายดำ
- หาดหินงาม
- หาดปิติ
- หาดปากดวด
- น้ำตกสี่ขีด
- แหล่งโบราณคดีเขาคา
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด
- น้ำตกหน่อตง
- ถ้ำเขาพับผ้า
- ถ้ำสวนปราง
- น้ำตกภูริน
- ถ้ำโครำ
- วัดเจดีย์(ไอ้ไข่)
อำเภอเชียรใหญ่[แก้]
- วัดแม่เจ้าอยู่หัว
- ศาลหลวงต้นไทร
- ศูนย์ศิลปาชีพเนินธัมมัง
- ศาลเจ้าทวดปากเชียร
- วัดเขาแก้ววิเชียร
- จุดชมวิวบนเขาพระบาท
- วัดปากเชียร
อำเภอนบพิตำ[แก้]
อำเภอช้างกลาง[แก้]
อำเภอฉวาง[แก้]
อำเภอถ้ำพรรณรา[แก้]
อำเภอขนอม[แก้]
- อุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้
- อ่าวขนอม
- หาดในเพลา
- หาดแขวงเภา
- หาดหน้าด่าน
- หาดในเปร็ด
- อ่าวท้องหยี
- ถ้ำเขาวังทอง
- วัดกระดังงา
- วัดธาตุธาราม
- วัดเจดีย์หลวง
- วัดกลาง(โครงการเปิดเมืองพุทธภูมิ เฉลิมพระเกียรติ)
อำเภอปากพนัง[แก้]
- พิพิธภัณท์เฉลิมพระเกียรติเพื่อการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
- ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
- โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ชายทะเลปากพนัง
- แหลมตะลุมพุก
- บ้านรังนก
- วัดนันทาราม
- หมู่เกาะกระ
- ตลาดร้อยปีเมืองปากพนัง
- ตลาดน้ำย้อนยุคปากพนัง
- ทุ่งกังหันลมปากพนัง Pakphanang Wind Park
- สวนส้มโอทับทิมสยาม
อำเภอร่อนพิบูลย์[แก้]
- เขารามโรม
- จุดชมวิวบ้านเขาวัง
- น้ำตกแม่เศรษฐี
- น้ำตกวังศิลารักษ์
- น้ำตกคู่หาสวรรค์
- เขาคูหา
- บ้านนอกเมือง Cafe ร่อนพิบูลย์
อำเภอทุ่งสง[แก้]
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
- ถ้ำตลอด
- พระโพธิสัตว์กวนอิม
- น้ำตกปลิว
- สวนพฤกษาสิรินธร
- ถ้ำแรด
- น้ำตกธารทิพย์ ที่ตั้ง ตำบลน้ำตก
- น้ำตกธาราวารินทร์ ที่ตั้ง ตำบลน้ำตก
อำเภอทุ่งใหญ่[แก้]
- วัดภูเขาหลัก เจดีย์ศรีวิชัย
- วัดประดิษฐาราม
- อ่างเก็บน้ำเสม็ดจวน
- สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดนครศรีธรรมราช
- เขานางนอน
- ถ้ำเขารูป
- ถ้ำเพดาน
- ทะเลสองห้อง
- ดอยเจดีย์ศรีพุทธสถิต
- ตลาดยามเย็น
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ
- แม่น้ำตาปี
อำเภอพิปูน[แก้]
อำเภอนาบอน[แก้]
อำเภอจุฬาภรณ์[แก้]
- ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย
อำเภอชะอวด[แก้]
- อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส
- ถ้ำวังนายพุฒ
- น้ำตกหนานสวรรค์
- วัดไม้เสียบ
- วัดเขาพระทอง
- วัดเขาลำปะ
- พรุควนเคร็ง
- วัดเขมาราม
อำเภอบางขัน[แก้]
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง[แก้]
- วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
- ศาลหลักเมือง
- พระพุทธสิหิงค์
- พระครูพิศิษอรรถการ (พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์)
- จตุคามรามเทพ (ท้าวขัตตุคาม ท้าวรามเทพ)
- หอพระอิศวร
- หอพระนารายณ์
- หอพระสูง
- พ่อท่านเขียว วัดหรงบน ปากพนัง
อุทยานแห่งชาติทางบก[แก้]
อุทยานแห่งชาติทางทะเล[แก้]
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า[แก้]
พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า[แก้]
เทศกาลงานประเพณี[แก้]
- ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
- ประเพณีสารทเดือนสิบ
- ประเพณีชักพระ
- เทศกาลมหาสงกรานต์แห่นางดานเมืองนครศรีธรรมราช (สงกรานต์)
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก[แก้]
- เครื่องถมเมืองนคร
- เครื่องทองเหลือง
- สร้อยนะโม สร้อยเงิน และสร้อยสามกษัตริย์
- ตัวหนังตะลุง
- ผลิตภัณท์ย่านลิเภา
- หัตถกรรมจักสาน ผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูด
- ผ้ายกเมืองนคร
สวนน้ำ[แก้]
- Thung Song Water Park อำเภอทุ่งสง
เพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช[แก้]
ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเชื้อชาติไทยพำนักทางปักษ์ใต้ตั้งนครสุนทรสง่ามาแต่ไร ปัญญาไวฉลาดเฉลียวเชี่ยวปฏิภาณ
เคยมีชื่อเด่นชัดในประวัติศาสตร์ สืบทายาทสกุลใหญ่เกียรติไพศาล
มีพระธาตุขวัญเมืองเครื่องสักการ ตามตำนานชาติไทยได้มีมา
จนบัดนี้ก็ยังมีความดีเด่น สมที่เป็นเมืองสำคัญอันสุดหา
สมเป็นด่านด้านใต้ใกล้คงคา พึงรักษาเกียรติไว้คู่ไทยเทอญ
(ซ้ำ ทั้งเพลง 1 รอบ)
ความเป็นที่สุด[แก้]
- ชายฝั่งทะเล ยาวที่สุด 236 กิโลเมตร
- แหลมทะเล ยาวที่สุดของไทย คือ แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง เกิดจากการทับถมของทราย ที่น้ำทะเลพัดพามา จนกลายเป็น สันดอนจะงอย ยื่นยาวเป็นแหลมออกไปจากชายฝั่งทะล มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร ส่วนกว้างที่ของแหลมประมาณ 5 กิโลเมตร
- มหาวิทยาลัย ที่มีบริเวณกว้างใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ภายในวิทยาเขตเดียว มากกว่า 10,000 ไร่ ปัจจุบันมีนักศึกษากำลังศึกษาอยู่มากกว่า 8,500 คน
- เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด ในภาคใต้ คือ 1,552,530 คน (ข้อมูล : ที่ทำการปกครองจังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2558)
- ทิวเขานครศรีธรรมราช เป็นทิวเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย มีภูเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนและเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง
- มียอดเขาสูงที่สุดในภาคใต้ คือ ยอดเขาหลวง มีความสูง 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเล และเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขานครศรีธรรมราช ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง
แหล่งทรัพยากรทางด้านพลังงาน[แก้]
- แอ่งสินปุน แหล่งถ่านหินลิกไนต์ ปริมาณสำรอง 91 เมกตริกตัน ที่อำเภอทุ่งใหญ่
- แอ่งนคร แหล่งศักยภาพปิโตรเลียม อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งอำเภอสิชล ประมาณ 50 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก
- แอ่งปัตตานี แหล่งปิโตรเลียม อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งอำเภอปากพนัง ทางทิศตะวันออก ประมาณ 100 กิโลเมตร
- แอ่งสงขลา แหล่งศักยภาพปิโตรเลียม อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งอำเภอหัวไทร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 50 กิโลเมตร
- แอ่งมาเลย์เหนือ แหล่งปิโตรเลียม อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งอำเภอหัวไทร ทางทิศตะวันออก ประมาณ 250 กิโลเมตร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น